ยุคนี้การสอนลูกให้เป็นเด็กที่มีจิตใจเข้มแข็งเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรปลูกฝังลูกตั้งแต่ยังเล็ก วันนี้เรามี วิธีเลี้ยงลูกให้จิตใจเข้มแข็ง มาฝาก ทั้งนี้ก็เพื่อให้เด็ก ๆ ได้คุ้นเคยกับทักษะชีวิตต่าง ๆ
ที่จำเป็นต่อการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความมั่นคงทางอารมณ์ในอนาคต เพื่อให้ลูกพร้อมเผชิญโลกกว้างได้อย่ างราบรื่น ในย ามต้องเจอกับปัญหาที่มากระทบกระเทือนจิตใจ ก็จะสามารถจัดการและรับมือกับความย ากลำบากนั้นๆ ได้
การสอนให้ลูกมีความเข้มแข็งทางจิตใจในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงการฝึกให้ลูกเป็นคนแข็งกร้าว หรือการทำให้ลูกกลายเป็นเด็กเก็บกด ในทางกลับกัน คือ การสอนให้ลูกสามารถเรียนรู้ที่จะรับมือและเผชิญกับสถานการณ์ย ากลำบากต่างๆ ที่หลากหลายได้อย่ างชาญฉลาด
การช่วยให้เด็กพัฒนาความเข้มแข็งทางจิตใจนั้น พ่อแม่ต้องใช้วิธีการสอนด้วยการสร้างสถานการณ์การเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติ สำคัญที่การสอนให้เด็กเปลี่ยนความคิดเชิงลบต่างๆ
ให้แทนที่ด้วยความคิดเชิงบวก ซึ่ง ต่อไปนี้คือวิธีการสอน 10 ข้อที่จะช่วยให้ลูกของคุณพัฒนาทักษะความแข็งแข็งทางจิตใจและอารมณ์ โตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่ างมีความสุขแน่นอนครับ
1. สอนทักษะเฉพาะ
เช่น การมีระเบียบวินัยในตัวเอง ตลอดจนทักษะการอดทนและแก้ปัญหาต่างๆ ที่ต้องเผชิญ เช่น การรู้จักควบคุมความอย ากได้อย ากมี ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้ลูกคุณเรียนรู้ที่จะปรับตัวแม้ในขณะที่เขาเผชิญกับสถานการณ์ที่ย ากลำบาก
2. ปล่อยให้ลูกได้ทำผิดพลาดบ้าง
สิ่งสำคัญคือการสอนลูกว่าการมีข้อผิดพลาด ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการเรียนรู้ ปล่อยให้สิ่งที่ผิดพลาดเป็นประสบการณ์เพื่อคอยสอนใจไม่ให้ลูกไม่ทำผิดซ้ำสอง
ด้วยวิธีนี้ลูกจะไม่รู้สึกละอายใจที่จะทำผิดพลาดไปบ้าง และจะสามารถยกโทษให้ตัวเองได้ไว หากเกิดข้อผิดพลาดใดๆ ก็ตามในชีวิตของลูก
3. สอนให้ลูกรู้จักวิธีการพูดเชิงบวกกับตัวเองซ้ำๆ บ่อยๆ
วิธีนี้เรียกอีกอย่ างว่าการสอน Self-Talk คือ การให้ลูกได้อธิบาย ว่าในวันนี้ลูกได้ทำอะไรบ้าง ตัวอย่ าง เช่น ฝึกให้ลูกพูดกับตัวเองในด้านบวกซ้ำๆ หากทำเป็นประจำ จะช่วยเปลี่ยนภาพในจินตนาการในใจลูกให้มองตัวเองในแง่ดี
สำหรับในเด็กเล็ก หากว่าเราฝึกให้ลูกพูดด้านบวกบ่อยๆ จิตใต้สำนึกของเด็กจะรับรู้ และซึมซับแต่สิ่งที่ดีๆ เข้าไป ผลลัพธ์ที่เด็กแสดงออกมาก็จะมาจากใต้จิตสำนึกที่ดีในตัวเอง วิธีนี้เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยปลูกฝังให้ลูกเป็นเด็กที่มีความมั่นคงทางอารมณ์ตลอดจนแสดงออกทางอารมณ์ต่างๆ ได้อย่ างเหมาะสมพอดี
4. กระตุ้นให้ลูกของคุณเผชิญหน้ากับความกลัว
หากลูกหลบเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกกลัวไปตลอด ลูกจะไม่มีวันได้รู้จักวิธีสร้างความมั่นใจเมื่อต้องรับมือกับสถานการณ์ที่ย ากลำบาก ไม่ว่าลูกของคุณจะกลัวความมืด หรือกลัวที่จะพบกับผู้คนใหม่ ๆ เป็นต้น
คุณสามารถช่วยลูกให้ได้ลองเผชิญหน้ากับความกลัวได้ อาจจะค่อยๆ ให้ลูกได้เผชิญกับความกลัวทีละนิด คอยอยู่เคียงข้างลูก และคอยชื่นชมในความพย าย ามของลูก
ที่สำคัญคือการให้รางวัลในความกล้าหาญแก่ลูก ด้วยวิธีนี้จะทำให้ลูกได้เรียนรู้ว่าตัวเขาสามารถก้าวออกจากเซฟโซนได้อย่ างมั่นใจเต็มภาคภูมิ
5.ปล่อยให้ลูกของคุณรู้สึกอึดอัดบ้าง จะเป็นไรไป
ในย ามที่ลูกตกอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกอึดอัดย ากลำบากใจ ให้คุณลองปล่อยให้ลูกได้ลองหาทางออกกับสิ่งที่เจอด้วยตัวเอง เมื่อใดก็ตามที่เกิดปัญหาแล้วคุณยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือลูกทุกๆ ครั้งร่ำไป
จะทำให้ลูกรู้สึกว่าตัวเขาต้องได้รับการช่วยเหลือจากคุณเสมอ ยิ่งทำให้ลูกไม่เกิดความภาคภูมิใจในตัวเองในการหาทางเอาชนะปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตัวเองได้
6.เป็นแบบอย่ างที่ดีให้กับลูก
นอกจากการสอนลูกด้วยวิธีต่างๆ แล้ว สิ่งที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม คือ การที่คุณต้องทำตัวให้เป็นแบบอย่ างที่ดีโดยเฉพาะเรื่องศีลธรรม จรรย าบรรณให้ลูกเห็น เพราะตราบใดที่ลูกยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ย่อมต้องการเข็มทิศทางศีลธรรมจรรย าที่ดี เด็กจะเรียนรู้ระดับของการให้ความสำคัญของการแสดงออกต่อเพื่อนมนุษย์ ทั้งการอยู่ร่วมกันในสังคม ด้านการเห็นอกเห็นใจ
ตลอดจนความซื่อสัตย์ต่อตนเองครอบครัวและสังคมจากพ่อและแม่อย่ างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้นการสอนอย่ างเดียวไม่เพียงพอ คุณต้องทำตัวเป็นแบบอย่ างที่ดีอยู่เสมอด้วย
7.ให้ความสำคัญกับความกตัญญู
การสอนให้ลูกรู้จักความกตัญญูตั้งแต่ยังเล็ก วิธีสอนลูกให้กตัญญูไม่ใช่แค่คำพูดที่พร่ำสอน แต่การกระทำให้เห็นเป็นตัวอย่ างนั้นสำคัญที่สุด เริ่มง่าย ๆ
จากการกตัญญูรู้คุณพ่อแม่ ทดแทนบุญคุณด้วยการเลี้ยงดูท่านย ามแก่เฒ่าหรือเจ็บป่วย เพื่อเป็นต้นแบบที่ดีให้ลูกได้เรียนรู้เรื่องความกตัญญูกตเวที ด้วยการปลูกฝังให้ลูกรู้จักความกตัญญูกตเวที
จะทำให้ลูกของคุณรู้ว่าอะไรผิดชอบชั่วดีที่ควรกระทำและไม่ควรทำต่อเพื่อนมนุษย์ นอกจากนี้ เมื่อลูกแสดงถึงความกตัญญู เช่น การช่วยเหลืองานบ้าน หรือช่วยแบ่งเบาภาระพ่อแม่ แม้แต่เล็กๆ น้อยๆ
คุณควรให้คำชมเชยแก่ลูกตามสมควร ให้ลูกได้รู้สึกว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นเรื่อง ถูกต้องและน่ายกย่อง นอกจากนี้ หากพ่อแม่เห็นข่าว หรือเรื่องราวดี ๆ ก็สามารถนำเรื่องนั้นมาบอกเล่าให้ลูกเห็นภาพ เช่น
เด็กคนนี้กตัญญูต่อพ่อแม่ พอโตแล้วก็ช่วยทำงาน แบ่งเบาภาระพ่อแม่ด้วยการหารายได้พิเศษ อย่ างไรก็ตาม การอบรมสั่งสอนเด็ก ไม่ควรกดดัน ค่อย ๆ พูด ค่อย ๆ สอน เรื่องราวต่าง ๆ ถ้าตอกย้ำมากเกินไป ลูกอาจจะกดดันจนรู้สึกต่อต้านได้
8. สอนลูกให้รู้จักการรับผิดชอบหน้าที่ของตัวเอง
เมื่อใดก็ตามที่ลูกบกพร่องในหน้าที่ของตัวเอง เช่น ไม่ทำตามหน้าที่ในสิ่งที่คุณได้มอบหมาย ตามที่ตกลงกันไว้ คุณควรเปิดโอกาสให้ลูกอธิบายสำหรับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ต้องไม่ใช่คำพูดแก่ตัวที่ฟังไม่ขึ้น
เช่นพูดโทษสิ่งอื่นๆ การสอนให้ลูกรู้จักรับผิดชอบ การลงโทษว่ากล่าวตามสมควรเมื่อลูกบกพร่องในหน้าที่ของตัวเอง และชมเชยเมื่อลูกมีความรับผิดชอบตามความเป็นจริง
จะหล่อหลอมให้ลูกโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่รู้จักหน้าที่ของตัวเองและมีความมั่นคงทางอารมณ์หากเกิดข้อผิดพลาดต่างๆ ขึ้นมา เขาจะไม่กล่าวโทษคนอื่น แต่จะยืดอกรับผิดด้วยตัวเองอย่ างภาคภูมิ และสิ่งนี้เองที่จะทำให้ลูกเป็นผู้ใหญ่ที่ได้รับการยอมรับในสังคม
9. สอนทักษะการควบคุมและจัดการกับอารมณ์ทางด้านลบ
ในข้อนี้ สิ่งที่คุณไม่ควรทำ คือ การพย าย ามทำให้ลูกของคุณสงบในขณะที่ลูกกำลังโกรธ หรือแสดงอารมณ์ด้านลบต่างๆ หรือคอยให้กำลังใจ กระทั่งโอ๋ลูกทุกครั้งที่เศร้าหมองหรือ
ผิดหวัง แต่คุณควรสอนลูกถึงวิธีจัดการกับอารมณ์ด้านลบด้วยตัวเองบ้าง ไม่เช่นนั้นลูกจะไม่รู้วิธีอยู่ด้วยตัวเองให้ได้ ท่ามกลางสถานการณ์ตึงเครียด
10. เป็นแบบอย่ างของความแข็งแกร่งทางจิตใจให้ลูก
ชี้แนะและเป็นแบบอย่ างให้ลูกได้เห็นว่าการหมั่นฝึกทำตัวเองให้มีจิตใจให้เข้มแข็งจนเป็นนิสัย ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการพัฒนาความเข้มแข็งทางจิตใจ ตลอดจนความมั่นคงทางอารมณ์
หมั่นให้ลูกรับรู้ถึงแนวทางในการดำเนินชีวิตของคุณ ที่ค่อนข้างให้ความสำคัญในเรื่องความเข้มแข็ง และไม่ยอมแพ้ต่อความย ากลำบากต่างๆ ที่ต้องเจอในชีวิตประจำวัน สิ่งนี้จะทำให้ลูกมีแบบอย่ างในชีวิตที่ดี และกลายเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ไม่ย าก
ที่มา : th.theasianparent
10 วิธีเลี้ยงลูกให้มีจิตใจเข้มแข็ง โตไปชีวิตจะประสบความสำเร็จ
Reviewed by Dusita Srikhamwong
on
ธันวาคม 03, 2563
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: