10 ประโยชน์ของบัวเผื่อน ช่วยลดระดับน้ำตาล บำรุงหัวใจ แก้ไข้ตัวร้อน




10 ประโยชน์ของบัวเผื่อน ช่วยลดระดับน้ำตาล บำรุงหัวใจ แก้ไข้ตัวร้อน

บัวเผื่อน เป็นพันธุ์ไม้น้ำคล้ายบัวสาย อายุหลายปี มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน และส่งใบดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ บัวเผื่อนมีดอกให้ชมเกือบตลอดทั้งปี เริ่มบานตอนสายและหุบตอนบ่าย ออกดอกตลอดปี บัวเผื่อนมีชื่อพื้นเมืองอื่นว่า นิลุบล นิโลบล (กรุงเทพฯ) บัวผัน บัวขาบ (ภาคกลาง) ป้านสังก่อน (เชียงใหม่) และปาลีโป๊ะ (มลายู นราธิวาส)


ลักษณะของบัวเผื่อน

ต้นบัวเผื่อน 
เป็นพันธุ์ไม้น้ำคล้ายบัวสาย เป็นพืชที่มีอายุหลายปี มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน ส่วนใบและดอกจะขึ้นอยู่บนผิวน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยการใช้หน่อหรือเหง้า และใช้เมล็ด พบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยสามารถพบได้ตามหนองน้ำ บึงคลอง ริมแม่น้ำที่มีกระแสน้ำอ่อน และขอบพรุ

ใบบัวเผื่อน 
ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นกลุ่ม แผ่นใบลอยอยู่บนผิวน้ำ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายใบทู่ถึงกลมมน ส่วนโคนเว้าลึก ขอบใบเรียงถึงหยักตื้น ๆ ใบมีความกว้างประมาณ 8-18 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร แผ่นใบสีเขียว ท้องใบสีเขียวอ่อนจนถึงสีม่วงจาง ผิวใบเกลี้ยง มีเส้นใบราว 10-15 เส้น แยกจากจุดเชื่อมกับก้านใบ ส่วนก้านใบมีความสั้นยาวไม่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำเป็นหลัก แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีความยาวประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร


ดอกบัวเผื่อน
ดอกเป็นดอกเดี่ยว ขึ้นอยู่เหนือน้ำ ดอกมีสีขาวแกมชมพูถึงสีอ่อนคราม ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ถ้าดอกมีสีขาวแกมเหลือง หากมีสีขาวแกมชมพูจะเรียกว่า “บัวเผื่อน” ส่วนดอกสีครามอ่อนและมีขนาดใหญ่เรียกว่า “บัวผัน”

แต่ละดอกจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8-10 เซนติเมตร มีกลีบดอกซ้อนกัน 2-3 ชั้น ปลายกลีบแหลม มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก รังไข่มีช่องประมาณ 10-20 ช่อง ฝังตัวแน่นอยู่ใต้แผ่นรองรับ

ส่วนเกสรตัวเมียเป็นรูปถ้วย มีก้านดอกคล้ายกับก้านใบและมีความยาวไล่เลี่ยกัน สามารถออกดอกได้เกือบตลอดทั้งปี และดอกจะบานตอนช่วงสายและจะหุบตอนช่วงบ่าย ส่วนผลจะจมอยู่ใต้น้ำหลังจากการผสมเกสรแล้ว

ประโยชน์ทางยา

- ดอก รสฝาดหอมเย็น บำรุงหัวใจให้แช่มชื่น บำรุงกำลัง แก้ไขตัวร้อน แก้ไข้
- บำรุงครรภ์
- เมล็ด เมื่อฝักแก่ดอกร่วงหมดแล้วเรียกว่า”โตนดบัว” มีเมล็ดเล็กๆ คล้ายเมล็ดฝิ่น คั่วรับประทานเป็นอาหารได้ รสหอมมัน บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง
- หัว ลักษณะเป็นหัวตะปุ่มตะป่ำ เหมือนโกฐหัวบัว รสหอมมัน เผ็ดเล็กน้อย บำรุงร่างกาย ชูกำลัง บำรุงครรภ์รักษา บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ

ในตำรายาไทย บัวเผื่อนอยู่ในพิกัดบัวพิเศษ มี 6 อย่างคือ บัวหลวงแดง บัวหลวงขาว บัวสัตตบงกชแดง บัวสัตตบงกชขาว บัวเผื่อน และบัวขม ใช้แก้ไข้ แก้ลม เสมหะ และโลหิต บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ทำให้แช่มชื่น แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้ตัวร้อน บำรุงครรภ์ นอกจากนั้น ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ในตำรับยาหอมเทพจิตร มีดอกบัวเผื่อนเป็นส่วนผสมร่วมกับสมุนไพรอื่นๆอีกหลายชนิดในตำรับ มีสรรพคุณแก้ลมกองละเอียด ได้แก่ อาการหน้ามืด ตาลาย สวิงสวาย ใจสั่น และบำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น



สรรพคุณของบัวเผื่อน

1. ช่วยบำรุงกำลัง (ดอก, เมล็ด, หัว)

2. เมล็ดใช้คั่วช่วยบำรุงร่างกาย (เมล็ด, หัว)

3. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เมล็ด, หัว)

4. ช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก, เมล็ด, หัว)

5. ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน (ดอก)

6. ช่วยบำรุงครรภ์ (ดอก, หัว)

7. ในตำราสมุนไพรไทย บัวเผื่อนถูกจัดให้อยู่ในตำรับยา “พิกัดบัวพิเศษ” ซึ่งประกอบไปด้วย บัวเผื่อน, บัวขม, บัวหลวงแดง, บัวหลวงขาว, บัวสัตตบงกชแดง, และบัวสัตตบงกชขาว ซึ่งมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้8. อันเกิดเพื่อธาตุทั้ง 4 ช่วยขับเสมหะ แก้ไข้ตัวร้อน อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้ลม ช่วยบำรุงโลหิต บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น และช่วยบำรุงครรภ์ (ดอก)

8. ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ดอกบัวเผื่อนเป็นส่วนประกอบในตำรับยากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิตหรือตำรับยา “ยาหอมเทพจิตร” โดยมีดอกบัวเผื่อนเป็นส่วนประกอบร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกหลายชนิด ซึ่งมีสรรพคุณช่วยแก้ลมกองละเอียด หรืออาการหน้ามืดตาลาย แก้อาการสวิงสวาย (อาการใจหวิว วิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่าจะเป็นลม), แก้อาการใจสั่น, และช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ทำให้สุขใจ สบายใจ ช่วยคลายเครียด ทำให้มีอารมณ์แจ่มใส (ดอก)

9. สาร Nymphagol จากดอกบัวเผื่อน มีฤทธิ์ในการช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยเพิ่มระดับอินซูลินในหนูทดลองได้ (ดอก)

10. สารสกัดจากดอกบัวเผื่อน มีฤทธิ์ช่วยปกป้องตับหนูจากการถูกทำลายด้วยสารคาร์บอนเตตระคลอไรด์ (ดอก)


ขอบคุณข้อมูล : wikipedia , medthai
10 ประโยชน์ของบัวเผื่อน ช่วยลดระดับน้ำตาล บำรุงหัวใจ แก้ไข้ตัวร้อน 10 ประโยชน์ของบัวเผื่อน ช่วยลดระดับน้ำตาล บำรุงหัวใจ แก้ไข้ตัวร้อน Reviewed by Dusita Srikhamwong on มิถุนายน 28, 2562 Rating: 5


ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.