อย่ าหลงตนเอง อย่ าลืมตัว วันนี้มั่งมี อนาคตอาจเป็น ขอทาน
เมื่อตอนที่นก ยังมีชีวิตอยู่ มันจะกินมดเป็นอาหาร แต่เมื่อนกตกลงมาที่พื้น วันนั้นมันก็จะถูกมดกิน เป็นอาหารเช่นกัน
ต้นไม้หนึ่งต้น สามารถทำเป็น ไม้ขีดไฟได้เป็นล้านก้าน แต่ไม้ขีดไฟเพียงหนึ่งก้าน ก็สามารถเผาต้น ไม้ได้เป็นล้านต้น ได้เช่นกัน
จงอย่ามองข้ามคนที่ด้อยกว่า เพราะหลงตัวเองว่ายิ่งใหญ่ อย่ามองข้าม ลูกค้ารายเล็ก ไม่เห็นคุณค่า ของพวกเขาเพราะสักวันหนึ่งเขา อาจเป็นลูกค้ารายใหญ่ ของเราก็เป็นได้
อย่าคิดว่าเราแข็งแรง ไม่มีวันป่วย เพราะอายุยังน้อย เมรุ ไม่ได้มีไว้ใส่คนแก่ แต่มีไว้ใส่คนจากโลกไป
อย่าคิดว่าฉันรวย ใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือย สักวันเงินเพียง 1 พัน อาจมีค่ามากมาย
ไม่มีอะไรแน่นอนในชีวิต ใหญ่ได้ก็เล็กได้ รวยได้ก็จนได้ แข็งแรงได้ก็ป่วยได้ ท่องจำให้ขึ้นใจ อย่าหลงตน อย่าลืมตัว
และที่สำคัญ อย่าประมาท กับชีวิต จะยุ่งมากเพียงใด ก็ต้องดูแลตัวเองให้ดี
จะยุ่งมากเพียงใดก็ต้องดูแลตัวเองให้ดี
ท่านว.วชิรเมธี กล่าวว่า
พระพุทธองค์ทรงสอนให้เราหมั่นระลึกถึงความไม่เที่ยงของชีวิต
ไม่ใช่เพื่อจะให้กลัว แต่เพื่อที่จะให้เรารู้จักที่จะดำรงชีวิตอยู่ในปัจจุบันขณะอย่างดีที่สุด
หัวใจของการดำรงชีวิตอยู่อย่างดีที่สุดก็คือ การดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท
ไม่ประมาทในอะไรเล่า?
1. ไม่ประมาทในชีวิต ว่าจะยืนยาว
2. ไม่ประมาทในวัย ว่ายังหนุ่มสาว
3. ไม่ประมาทในสุขภาพ ว่ายังแข็งแรง
4. ไม่ประมาทเวลา ว่ายังมีอีกมาก
5. ไม่ประมาทในธรรม ว่าเอาไว้ก่อนวันหลังค่อยสนใจ
ใครก็ตามประมาทในเหตุทั้ง 5 ประการนี้ มักต้องมานั่ง เ สี ย ใ จ ทุกครั้ง เมื่อบุคคลอันเป็นที่รักต้องมาพลัดพรากจากไป หรือหากตัวเองจะต้องจากไปบ้าง ก็มักจะบ่นเพ้อด้วยความเสียดายว่า “รู้อย่างนี้ทำดีไปตั้งนานแล้ว”
ดังนั้น หากเราไม่อยาก เ สี ย ใ จ ไม่อยากพลาดวันเวลาสำคัญของชีวิตก็ควรหมั่นเจริญมรณัสสติอยู่เสมอ เพราะเมื่อเราใช้ชีวิตดังหนึ่งการเ สี ຍ ชี วิ ต กำลังกวักมือเรียกอยู่ข้างหน้าทุกขณะจิต
เราจะตระหนักรู้ว่าชีวิตมีค่าแค่ไหน มารดร บิดา สามี ภรรยา ลูกแก้ว เมียขวัญสำคัญเพียงไรสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็นเพียงไร และทรัพย์สินศฤงคารอำนาจราชศักดิ์เป็นเพียงสิ่งสมมุติมายาเพียงชั่วคราวอย่างไร
การจากไปจะเป็นดั่งระฆังแห่งสติที่เตือนให้เรากลับมาดำรงอยู่กับความจริงและอยู่กับสิ่งที่เป็นแก่นสาร ทิ้งสิ่งที่เป็นเปลือกหรือหัวโขนของชีวิตอย่างรู้เท่าทัน
เราระลึกถึงจากไปเพื่อเข้าใกล้ชีวิตที่มีแก่นสารที่สุด ดำรงอยู่อย่างคนที่ตื่นตัวและตื่นรู้ที่สุด ฉะนั้น การระลึกถึงการจากไป แล้วเศร้าหมอง หดหู่ จึงไม่ใช่มรณานุสติที่ถูกต้อง
ที่ถูกคือ พอระลึกถึงว่าตนจะต้องจากไปในวันหนึ่ง จิตจะตื่นขึ้นมาตระหนักรู้ถึงสัจธรรม แล้วเร่งรีบกระทำแต่กรรมดี ใช้ชีวิตนี้อย่างคุ้มค่าที่สุด นี่ต่างหากคือสัมมาทิฏฐิ (ความเข้าใจที่ถูกต้อง) และสัมมาปฏิบัติ (พฤติกรรมที่ถูกต้อง) อันเป็นผลโดยตรงจากการเจริญมรณานุสติ
อวสฺสํ มยา มริตพฺพํ – วันหนึ่งเราจะต้องจากไป
ชีวิตํ อนิจฺจํ – ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง
มรณํ เม ชีวิตํ – การจากไปของเราเป็นของเที่ยง
ตระหนักรู้สัจธรรมอย่างนี้แล้ว พึงดำรงชีวิตด้วยความไม่ประมาท ความ ชั่ ว ต้องรีบหนี ความดีต้องรีบทำ เพราะหากทำความดีช้าไป ก็จะมีแต่ความ เ ศ ร้ าและความเสียใจติดค้างไปตราบนานเท่านาน
แต่สำหรับบุคคลผู้ตื่นอยู่ หมั่นเจริญมรณานุสติอยู่เนือง ๆ ดำรงชีวิตด้วยความไม่ประมาท ครั้นการจากไปมาถึง ย่อมไม่วิโยคตกใจ พร้อมเผชิญต่อการจากไป ดังหนึ่งคนงานยืนรอเวลาเลิกงานด้วยใจยินดีปรีดา มาถึงเมื่อไรก็พร้อมไปเมื่อนั้น
เนื้อหาโดย me-panya
เรียบเรียงโดย : Me-manakab
อย่ าหลงตนเอง อย่ าลืมตัว วันนี้มั่งมี อนาคตอาจเป็น ขอทาน
Reviewed by Dusita Srikhamwong
on
มิถุนายน 29, 2563
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: