แบ่งปันวิธีหุงข้าวไม่ให้แข็งติดก้นหม้อ และถนอมข้าวไม่ให้บูดเร็ว
การหุงข้าวเป็นเรื่องง่ายๆ ที่คิดว่าใครๆ ก็สามารถทำได้ แต่หารู้ไม่ว่ามันยากเหมือนกันนะ กว่าจะได้ข้าวสวยนุ่มๆ ถูกใจ โดยคุณ สมาชิกหมายเลข 2321865 ได้ออกมาโพสต์แบ่งปันเคล็ดลับเอาไว้โดยระบุว่า....
การหุงข้าวโดยใช้หม้อไฟฟ้า (รู้เองบ้าง ดูเว็บบ้าง) ในหม้อที่เคลือบเทปลอน (ที่ร่อนออกหมดแล้ว) และในหม้อที่ไม่ได้เคลือบเทปล่อน
1. เมื่อปุ่มหม้อข้าวเด้ง (สุก) แล้ว (ถ้าเป็นหม้อหุงข้าวแบบมีไฟอุ่น) ให้รีบดึงปลั๊กออก แต่ถ้าเป็นแบบไม่มีไฟอุ่น ก็ไม่จำเป็นต้องดึงปลั๊กออกก็ได้ แล้วอย่าเพิ่งเปิดฝา ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วค่อยเปิดฝาออก ข้าวก็จะไม่แข็งติดก้นหม้อ (ชั้นใน)
หมายเหตุ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า ให้ความร้อนจากแผ่นให้ความร้อนที่ก้นหม้อ (ชั้นนอก) ทำให้ส่วนก้นหม้อ (ชั้นใน) ได้รับความร้อนมากที่สุด ทำให้ข้าวก้นหม้อ (ชั้นใน) แห้งแข็งติดก้นหม้อ (เมื่อข้าวสุก) ดังนั้นเมื่อดึงปลั๊กออก ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วค่อยเปิดฝา จะทำให้ความชื้นของไอนำ้ในหม้อข้าวหมุนเวียนอยู่ในหม้อข้าว และวนลงไปที่ก้นหมอ (ชั้นใน) ทำให้ข้าวที่แห้งแข็ง อ่อนนิ่มขึ้น และไม่ติด หรือติดก้นหม้อน้อยลง
2. ทำตามวิธีที่ 1 แล้วใช้ผ้าเปียกวางปิดรูที่ฝาหม้อ (ที่ฝาหม้อส่วนใหญ่จะมีรูขนาดประมาณเมล็ดถั่วเขียว) ก็จะทำให้ลดเวลาลงกว่าวิธีที่ 1 เพราะไอน้ำมันจะออกจากหม้อได้น้อยลง
3. เมื่อข้าวสุกดึงปลั๊กออก ให้ใช้น้ำเย็นๆใส่ในกระมังสูง 3 นิ้ว แล้วยกหม้อ (ชั้นใน) ไปว่างในกระมังประมาณ 2 นาที ก็ได้แถม
ถ้ากินข้าวไม่หมด ให้แง้มฝาไว้ เพื่อให้ความชื้นในหม้อลดลง ถ้าปิดฝาทิ้งไว้ข้าวจะชื้นแฉะ บูดง่าย (ไว)
ถ้าต้องการอุ่น (ข้าวที่มื้อที่แล้วกินไม่หมด) ให้เติมนำ้ลงไปประมาณ 1 ส่วน 3 ของแก้ว (ถ้าข้าวน้อย) หรือ 1 ส่วน 2 ของแก้ว (ถ้าข้าวมาก) แล้วกดปุ่มหุง (ไม่ใช่เสียบปลั๊กเฉยๆ) เมื่อปุ่มหม้อข้าวเด้ง ให้ดึงปลั๊กออก เปิดกินได้เลย (วิธีนี้จะเร็วกว่าการเสียบปลักอุ่นเฉยๆ) และข้าวก็ไม่ติดก้นหม้อด้วย
แถมอีกนิด
1. อย่ากดปุ่มหุงข้าวก่อนเสียบปลั๊ก เพราะจะทำให้หม้อหุงข้าวพังไว เพราะปุ่มหุงไฟมันแรงมาก เมื่อเสียบปลั๊ก ระยะห่างของปลั๊กตัวผู้กับปลั๊กตัวเมีย (ที่เหมาะสม) มันจะสปาร์ค (ทำนองเดียวกับการเชื่อมเหล็ก) จะทำให้อีเล็คทรนิคของหม้อพังง่าย ดังนั้นต้องเสียบปลั๊กก่อน แล้วค่อยกดปุ่มหุง
2. เมื่อดึงปลั๊กออกแล้ว ให้ใช้นิ้วมือ (ที่แห้ง) แตะที่ปลั๊กตัวเมีย (ทันทีที่ดึงปลั๊กออก) เพื่อดูว่ามันร้อนหรือไม่ ถ้ามันร้อนแสดงว่าไม่ปลั๊กตัวเมีย หรือตัวผู้จะต้องเสีย หรืออาจจะเสียทั้ง 2 ตัว ลองย้ายไปเสียบปลั๊กตัวเมียตัวอื่นดู ถ้าไม่ร้อน แสดงว่าปลั๊กตัวเมียเสีย แต่ถ้าร้อนเหมือนกันแสดงว่าปลั๊กตัวผู้เสีย (กรณีที่ 2 นี้ ไม่แน่ว่าปลั๊กตัวเมียจะเสียด้วยหรือไม่ ต้องเปลี่ยนปลั๊กตัวผู้แล้วมาเสียบดู) ถ้าปลั๊กตัวเมีย (ตัวเก่า) ไม่ร้อน แสดงว่าปลั๊กตัวผู้เสียตัวเดียว แต่ถ้าปลั๊กตัวเมียยังร้อนอยู่ แสดงว่าปลั๊กตัวเมียเสียด้วย
หมายเหตุ ปลั๊กเสีย มี 2 แบบ
1. เสียมานาน ขั้วปลั๊กตัวเมียมีสีน้ำตาลอ่อน หรือเหลืองๆ ดำๆ ให้เปลี่ยนใหม่
1.1 สายอาจจะไหม้ด้วย (ให้เปลี่ยนสายด้วย)
2. เสียมาไม่นาน (ขั้วปลั๊กตัวเมียยังสีขาวเหมือนเดิม ทองเหลือ หรือโลหะ (ทั้งตัวผู้และตัวเมีย) ยังไม่เปลี่ยนสี)
ให้ลองบีบขาปลั๊กตัวผู้ดู หรือดัดทองเหลืองของขาปลั๊กตัวเมียดู (วิธีนี้ต้องทำโดยผู้รู้ด้านนี้) เพราะ ขนาดรูของปลั๊กตัวผู้และตัวเมียบ้าน (ประเทศ) เรามันไม่มีมาตรฐาน จึงแล้วแต่ดวงว่าจะเจอของห่วยเมื่อไหร่ (โดยเฉพาะปลั๊กตัวเมียราคาถูกๆ แต่ของถูกด้วยดีด้วยก็มี) เจอบ่อยในปลั๊กเตารีด (พบบ่อย เพราะการรีดผ้า สายไฟจะสั่นตลอดเวลา) หม้อหุงข้าว พัดลม เป็นต้น (ติดบ้าง ไม่ติดบ้าง) ทำให้หน้าสัมผัสของปลั๊กตัวผู้กับตัวเมียมันไม่สัมผัสกัน หรือสัมผัสกันแบบหมิ่นๆ ทำให้เกิดการสปาร์คๆๆๆ นานเข้ามันก็ไหม้ (อันตราย) หรืออาจจะเกิดจากช่างติดตั้งปลั๊ก ยึดสายไฟกับปลั๊กหลวมก็ได้ (ต้องตรวจโดยผู้รู้)
หมายเหตุ แล้วจะพิสูจน์ว่า ปลั๊กตัวผู้ หรือ ปลั๊กตัวเมียผิดกันแน่ อย่างไรดี ? (ผู้รู้ช่วยตอบที)
1. มีขนาด (มาตรฐาน) ของปลั๊กตัวผู้ และตัวเมียหรือไม่ ?
2. ถ้าไม่มีเมื่อไหร่จะมี ?
3. ถ้ามีทำไมไม่มีการกำจัด หรือลงโทษผู้ผลิตที่ทำผิดมาตรฐาน ?
4. หรือว่ามันมีหลายมาตรฐานจนไม่รู้ว่าใครถูก ใครผิด ?
ต้องบอกเลยว่าเป็นประโยชน์ดีๆ ที่คุณพ่อบ้านแม่บ้านต้องรู้ และนำไปทำตาม หากอยากทานข้าวสวยร้อนๆ นุ่มๆ และไม่แข็งติดก้นหม้อ
แหล่งข้อมูล kaijeaw.com ขอขอบคุณที่มาจากคุณ : สมาชิกหมายเลข 2321865
แบ่งปันวิธีหุงข้าวไม่ให้แข็งติดก้นหม้อ และถนอมข้าวไม่ให้บูดเร็ว
Reviewed by Dusita Srikhamwong
on
สิงหาคม 12, 2562
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: