ทองพันชั่ง (หญ้ามันไก่) สมุนไพรมากสรรพคุณมีฤทธิ์ยับยั้งมะเร็ง และลดความดันโลหิตสูง




ทองพันชั่ง (หญ้ามันไก่) สมุนไพรมากสรรพคุณมีฤทธิ์ยับยั้งมะเร็ง และลดความดันโลหิตสูง

ทองพันชั่ง (White crane flower) เป็นพืชสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย มาเลเซีย และมาดากัสการ์ หรือรู้จักกันในชื่ออื่นๆ คือ ทองคันชั่ง , หญ้ามันไก่ เหมาะที่จะนำมาปลูกไว้ที่บ้านเรือนเป็นสิริมงคล ไม้ประดับอันสวยงาม

ทองพันชั่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Rhinacanthus communis Nees) จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE) เป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้ในการรักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เชื้อราบนผิวหนังเป็นหลัก ซึ่งส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรนั้นก็ได้แก่ ต้น ใบสด รากสดหรือแห้ง และทั้ง 5 ส่วนของต้น (ต้น, ดอก, ใบ, ก้าน, ราก) และทองพันชั่งยังสามารถช่วยรักษาอาการอื่น ๆ และโรคต่าง ๆ ได้อีกมากมาย



สรรพคุณของทองพันชั่ง

ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย และใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ราก, ต้น)

ช่วยแก้โรค 108 ประการ (ต้น)

ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบ)

ช่วยรักษาวัณโรคปอดในระยะเริ่มแรก ด้วยการใช้ก้านและใบสดประมาณ 30 กรัม (ถ้าแห้งใช้ 10-15 กรัม) นำมาผสมกับน้ำตาลกรวดต้มเป็นน้ำดื่ม (ก้าน, ใบ)

ช่วยแก้ลมสาร (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)

ใช้เป็นยาหยอดตา (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)

ใบรสเบื่อเมาช่วยดับพิษไข้ หรือจะใช้รากนำมาต้มรับประทานแก้พิษไข้ก็ได้ (ใบ, ราก)

ช่วยแก้ไข้เหนือ (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)

ช่วยแก้อาการไอเป็นเลือด (ใบ)

ช่วยแก้อาการช้ำใน (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)

ช่วยทำให้ระบบกระเพาะอาหารทำงานได้ดีมากขึ้น (ใบ)

ช่วยแก้อาการจุกเสียด (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)

ช่วยแก้ไส้เลื่อน ไส้ลาม (ทั้งต้น)



ช่วยแก้ปัสสาวะผิดปกติ ปัสสาวะบ่อย ช่วยรักษาโรคนิ่ว ด้วยการใช้ทองพันชั่งทั้งต้น ดอก ใบ ก้าน และราก นำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วตากแดดให้แห้ง ต้มเป็นน้ำดื่ม (ทั้งต้น)

ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ใบ)

ช่วยแก้โรคมุตกิดระดูขาวของสตรี (ใบ)

ใช้รักษาโรคตับอักเสบ (สารแนพโทควิโนนเอสเทอร์)

ช่วยฆ่าพยาธิ (ใบ)

ช่วยขับพยาธิตามผิวหนัง ช่วยแก้พยาธิวงแหวนตามผิวหนัง ตามบาดแผล (ใบ, ราก, ทั้งต้น)

ช่วยแก้อาการปวดฝี (ใบ)

ช่วยแก้พิษงู (ใบ, ราก)

ช่วยถอนพิษ (ใบ)

ช่วยแก้อาการอักเสบ (ใบ)

ช่วยรักษาคุดทะราด (ทั้งต้น)

ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (ราก, ทั้งต้น)

ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ (ใบ)

ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอกตามชายโครง คอเคล็ด มือเคล็ด (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)

ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส (สารแนพโทควิโนนเอสเทอร์)

ช่วยต้านยีสต์ โดยสาร Rhinacanthin C, D และ N จากใบทองพันชั่งสามารถช่วยยับยั้งเชื้อ Candida albicans ได้ (ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์) (ใบ)

ช่วยรักษาโรคผมร่วง (ต้น)

ช่วยแก้อาการผมหงอกเนื่องจากเชื้อรา (ราก)

ช่วยรักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เรื้อน ผดผื่นคันเรื้อรัง ซึ่งในปัจจุบันมีการนำทองพันชั่งไปผลิตเป็น โทนเนอร์ทองพันชั่ง เพื่อความสะดวกในการหาซื้อและการนำมาใช้งาน (ใบ, ราก, ทั้งต้น) สำหรับวิธีการใช้ก็มีหลากหลายสูตร คือ


ใช้ใบสด 5-8 ใบ นำมาตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงผสมเล็กน้อย แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นเกลื้อน (ใบสด)

ใช้ใบสดตำให้ละเอียดผสมกับน้ำมันก๊าด หรือน้ำมันดิบ หรือแอลกอฮอล์ 75% แล้วนำมาบริเวณที่เป็นวันละ 1 ครั้งประมาณ 3 วันจนกว่าจะหายขาด (ใบสด)

ใช้รากสด 2-3 ราก นำมาป่นแช่กับเหล้าไว้นาน 1 สัปดาห์ แล้วกรองเอาแต่น้ำยาที่แช่มาทาบริเวณที่เป็นเกลื้อนบ่อย ๆ จนกว่าจะหาย (รากสด)

ใช้รากทองพันชั่งนำมาบดให้ละเอียด ผสมกับน้ำมะนาวและน้ำมะขาม แล้วนำมาชโลมทาบริเวณที่เป็น (ราก)

ใช้รากทองพันชั่งประมาณ 6-7 รากและหัวไม้ขีดไฟ 1/2 กล่อง นำมาตำจนเข้ากันให้ละเอียด แล้วผสมน้ำมันใส่ผมหรือจะผสมกับวาสลีนเพื่อไม่ให้ยาแห้ง แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นกลากหรือโรคผิวหนังเป็นประจำ (ราก)

ทองพันชั่ง รักษามะเร็ง ช่วยยับยั้งมะเร็ง มะเร็งในกระเพาะ มะเร็งในคอ มะเร็งในปาก มะเร็งในปอด มะเร็งภายในและภายนอก ต้นทองพันชั่งมีสารสำคัญคือ "สารแนพโทควิโนนเอสเทอร์" (Naphthoquinone Ester) ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีการออกฤทธิ์ในการช่วงยับยั้งมะเร็งเยื่อบุช่องปาก มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก ด้วยการใช้ทั้งต้นสดประมาณ 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำพอท่วมใบยา ต้มดื่มต่างน้ำ (ใบ, ราก, ทั้งต้น)
มีผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ใช้ต้นทองพันชั่งนำมาต้มเป็นน้ำดื่ม ช่วยทำให้อาการของโรคดีขึ้น ช่วยทำให้น้ำเหลืองดีขึ้น เม็ดตุ่มตามตัวน้อยลง รับประทานข้าวได้มากขึ้น แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลอ้างอิงและงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับโรคนี้ (ต้น)


อ้างอิงข้อมูลจาก https://medthai.com/
ทองพันชั่ง (หญ้ามันไก่) สมุนไพรมากสรรพคุณมีฤทธิ์ยับยั้งมะเร็ง และลดความดันโลหิตสูง ทองพันชั่ง (หญ้ามันไก่) สมุนไพรมากสรรพคุณมีฤทธิ์ยับยั้งมะเร็ง และลดความดันโลหิตสูง Reviewed by Dusita Srikhamwong on สิงหาคม 15, 2562 Rating: 5


ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.