ต้นหญ้ายาง ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ สมุนไพรชื่อแปลก ยอดอ่อนมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย แก้ท้องผูก
ต้นหญ้ายาง หรือ ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ (Painted spurge,Mexican fire plant) เป็นวัชพืชล้มลุกมีอายุปีเดียว มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบอเมริกากลาง และสามารถพบได้ทั่วไปในแอฟริกาเขตร้อน พบได้ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 400-1,400 เมตร
หญ้ายาง เป็นพืชที่มีประโยชน์ด้านสมุนไพรหลายด้าน ลำต้นตั้งตรง เปลือกของลำต้นมีสีเขียว ผิวเรียบ เมื่อหักแล้วจะมียางสีขาวขุ่น ยอดอ่อนสามารถนำไปต้มเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกรับประทานได้
รายงานว่าในสมัยก่อนนั้นมีการใช้หญ้ายางในงานศพ เป็นหญ้าที่ไม่เป็นมงคล เพราะมีตำนานว่าลูกเขยตายแล้วแม่ยายเอาหญ้าชนิดนี้มาคลุมศพ จึงอาจเป็นที่มาของชื่อ "ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ" ก็เป็นได้
หญ้ายาง ชื่อวิทยาศาสตร์ Euphorbia heterophylla L. ชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAE มีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น "ลูกเขยตายแม่ยายชักปรก" , ตำรายาโบราณเรียก "พิษนาคราช" , ชาวเหนือเรียก "หญ้าน้ำหมึก" , ไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเรียก "หญ้าหลังอึ่ง"
ข้อควรระวัง : ต้นหญ้ายางจะมียางสีขาวขุ่นอยู่ทั้งลำต้น หากสัมผัสผิวหนัง พิษของยางจะทำให้ผิวหนังอักเสบได้ และบริเวณก้านใบจะมีขนที่ทำให้เกิดอาการคัน จึงไม่ควรสัมผัสโดยตรง
ประโยชน์และสรรพคุณของหญ้ายาง
ยอดอ่อน นำไปต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก (ปะหล่อง)
ใบอ่อน ยอดอ่อน ใช้รับประทานสดประมาณ 3 ใบ มีฤทธิ์เป็นยาถ่าย ยาระบาย ช่วยแก้อาการท้องผูก
รากช่วยกระทุ้งพิษ ช่วยแก้พิษฝีภายใน (ราก) ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าใช้เปลือกลำต้นในการรักษาฝีภายนอกและฝีภายใน (เปลือกต้น)
ช่วยรักษาพิษนาคราช (เปลือกต้น)
ช่วยขับน้ำนมของสตรี (เปลือกต้น)
ต้นหญ้ายาง ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ สมุนไพรชื่อแปลก ยอดอ่อนมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย แก้ท้องผูก
Reviewed by Dusita Srikhamwong
on
สิงหาคม 13, 2562
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: