หนุ่มบวชแทนคุณพ่อแม่ ไม่มีงานแห่ใหญ่โต มีหมอนหนึ่งใบ ผ้าไตรหนึ่งผืน แต่เต็มไปด้วยกุศลเปี่ยมล้น




หนุ่มบวชแทนคุณพ่อแม่ ไม่มีงานแห่ใหญ่โต มีหมอนหนึ่งใบ ผ้าไตรหนึ่งผืน แต่เต็มไปด้วยกุศลเปี่ยมล้น

เมื่อเร็วๆนี้ เจ้าของเฟซบุ๊กชื่อ วรณัน สาระศาลิน ได้โพสต์คลิปวิดีโอและรูปภาพ พร้อมระบุข้อความว่า “#เป็นงานบวชที่อบอุ่นที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา รู้สึกว่าเป็นงานบวชที่ได้ บุ ญ มาก..ไม่จำเป็นต้องมีอะไรเหมือนคนอื่นเขา #งานบวชที่แท้จริง #ไม่ต้องเบียดเบียน สั ต ว์ ทั้งหลาย”

ในคลิปปรากฏครอบครัวหนึ่งที่กำลังทำพิธีแห่นาค แบบเรียบง่าย ไม่มีดนตรีอย่างเอิกเกริก มีเพียงพ่ออุ้มบาตร มีคุณแม่อยู่ข้างๆ และเพื่อนๆไม่กี่คน เดินตามผู้อุปสมบท นับว่าเป็นภาพที่สุดแสนจะประทับใจ ถึงแม้ไม่ได้จัดงานหรือพิธีแห่นาค เข้าโบสถ์ที่ใหญ่โต แต่มีแค่ผู้อุปสมบท คุณพ่อ คุณแม่ และเครือญาติอีกแค่ไม่กี่คน ก็สามารถสร้างความอบอุ่น หัวใจ ให้กับผู้ที่พบเห็นได้แล้ว


บางครั้งคนเรามักคิดว่าถ้าหากไม่มีการจัดงานที่ใหญ่โต ไม่มีวงดนตรีหรือแตรวง ไม่มีสิ่งของที่ปรนเปรอเพื่อนฝูงได้ก็จะไม่บวช เพราะถือว่าเสียหน้า โดยลืมหัวใจสำคัญของการอุปสมบทไปว่าบวชไปเพื่ออะไร

แน่นอนว่าอันดับ แรกต้องมีความตั้งใจจริงเพราะการเข้าไปอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์ซึ่งถือเป็นผ้าอันศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นจึงต้องเป็นผู้ที่จะต้องตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ขาดไม่ได้คือการทดแทนบุญคุณพ่อแม่

อย่างไรก็ตามเมื่อคลิปดังกล่าวได้เผยแผ่ออกไป ทำให้มีชาวโซเชียลเข้ามาอนุโมทนากับนาค คนนี้พร้อมแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก บางคอมเม้นต์กล่าวด้วยความซาบซึ้งว่า ดูแล้วอบอุ่นใจและภูมิใจในตัวผู้ที่มีความตั้งใจจะบวช ที่ไม่คิดจะจัดงานใหญ่โตให้สิ้นเปลืองตามค่านิยมของคนสมัยใหม่ แต่แค่มีครอบครัวพร้อมหน้าพร้อมตาก็สบายใจที่สุดแล้ว



ในพระพุทธศาสนา เรียกการบวชว่าการอุปสมบท (บาลี: อุปสมฺปทา) แต่เดิมนั้น การบวชเรียกว่าบรรพชา (บาลี: ปพฺพชฺชา แปลว่า เว้นทั่ว, เว้นจากความชั่วทุกอย่าง) ปัจจุบันคำว่าบรรพชาใช้กับการบวชสามเณร ในขณะที่อุปสมบทใช้กับการบวชพระภิกษุ การบวชโดยนัยแล้วคือ

การละทิ้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่เดิม สู่ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ใหม่ ตามครรลองแห่งมรรค เพื่อเป็นการง่าย เพื่อเป็นการสะดวก เป็นทางอันปลอดโปร่ง แก่การบรรลุถึงซึ่งวัตถุประสงค์ คือ ความบริสุทธิ์หลุดพ้น ปราศจากมิลทิน หมดจดจากความเศร้าหมอง และเป็นอิสระจากพันธนาการเครื่องร้อยรัดทั้งปวง

ประวัติความเป็นมาของคำว่า “นาค”

ชายเมื่อมีอายุครบ20ปีบริบูรณ์ จะสามารถอุปสมบท หรือบวช เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เพื่อศึกษาธรรมวินัยนำมาเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติต่อไปในการออกมาครองเรือนในภายภาคหน้าได้ สำหรับก่อนการบวชเรียนจะมีการไปอยู่วัดเพื่อเตรียมฝึกหัดในการท่องคำขานนาค และฝึกหัดซ้อมเกี่ยวกับวิธีบวช ในช่วงที่มาอยู่วัดนี้ ชาวบ้านจะเรียกผู้เตรียมตัวจะบวชว่า “นาค” หรือ ” “พ่อนาค” ”

อาจมีหลายๆคนสงสัยว่า ทำไมต้องเรียกผู้จะบวชว่านาค ทำไมไม่เรียกชื่ออื่น ประวัติความเป็นมาของคำว่า “”นาค” อาจทำให้หลายๆคนหายข้องใจได้ ซึ่งประวัติของคำว่า “นาค” มีดังนี้

ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์อยู่ มีพญานาคผู้หนึ่งได้แปลงร่างเป็นมนุษย์เข้ามาบวชเป็นพระภิกษุ อยู่มาวันหนึ่งได้เผลอนอนหลับ ร่างจึงกลับกลายเป็นพญานาคดั่งเดิม ภิกษุอื่นไปพบเข้าก็เกิดความเกรงกลัว เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบจึงเรียกมาตรัสถาม


ได้ความว่าเพราะเกิดความศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงปลอมตัวมาบวช พระพุทธองค์ทรงดำริว่าสัตว์ดิรัจฉานไม่อยู่ในฐานะควรจะบวชจึงโปรดให้ปลงเพศบรรพชิตกลับไปเป็นาคดั่งเดิม แต่ภิกษุนั้นมีความอาลัย จึงขอฝากชื่อนาคไว้ในพระพุทธศาสนา ดังนั้นจึงมีคำเรียกขานคนที่ต้องการจะบวชว่า “นาค” สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน (ที่มา:ประเพณี พิธีมงคล และวันสำคัญของไทย)


ขอบคุณข้อมูลจาก : วรณัน อู่ทองDMCwinnewsบวชฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย บวชพระ บวชนาค
หนุ่มบวชแทนคุณพ่อแม่ ไม่มีงานแห่ใหญ่โต มีหมอนหนึ่งใบ ผ้าไตรหนึ่งผืน แต่เต็มไปด้วยกุศลเปี่ยมล้น หนุ่มบวชแทนคุณพ่อแม่ ไม่มีงานแห่ใหญ่โต มีหมอนหนึ่งใบ ผ้าไตรหนึ่งผืน แต่เต็มไปด้วยกุศลเปี่ยมล้น Reviewed by Dusita Srikhamwong on พฤศจิกายน 25, 2562 Rating: 5


ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.