7 เหตุผลดีๆ ที่ควรทาน 'ขิง' ให้ได้ทุกวัน




7 เหตุผลดีๆ ที่ควรทาน 'ขิง' ให้ได้ทุกวัน

ขิง ถือเป็นผักและสมุนไพรอันมีชื่อเสียงของเอเชียเรา เพราะมีรสจัดจ้านเผ็ดร้อน แต่ก็มีความหอมสมุนไพรในตัว ซึ่งนอกจากนี้ขิงยังขึ้นชื่อในเรื่องสรรพคุณด้านสมุนไพร หลายทศวรรษมาแล้วที่ขิงถูกใช้ในทางการแพทย์จีนเพื่อรักษาโรคหวัด อาการปวดท้อง คลื่นไส้ แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย และท้องเสีย จึงแนะนำว่า ควรทานขิง ให้ได้ให้เป็นประจำ

ส่วนใหญ่ก็จะบริโภคโดยการทำเป็นขิงหั่นหรือขิงขูดต้มในน้ำร้อนจะช่วยป้องกันอาการเริ่มแรกของโรคหวัดรวมถึงอาการคลื่นไส้เมื่อการใช้ยาไม่ได้ผลด้วย (เราสามารถวางขิงที่ฝานสดใหม่ไว้ได้ทั้งในปากหรือบนสะดือพร้อมกับผ้าพันแผล) ปัจจุบันขิงก็ยังเป็นยาสมุนไพรสำหรับคนที่เชื่อในการรักษาแผนโบราณ และนี่คือคุณประโยชน์ของเครื่องเทศชนิดนี้

ขิงช่วยบรรเทาอาการข้อเข่าเสื่อมได้ดี

ในการแพทย์ของอินโดนีเซียขิงแดงถูกจัดให้เป็นยาเพื่อบรรเทาอาการปวดข้ออักเสบ ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่าการรักษาโดยใช้ลูกประคบแบบดั้งเดิมหรือแผ่นแปะที่มีส่วนประกอบของขิงสามารถบรรเทาอาการข้อเข่าเสื่อมเรื้อรังได้

ขิงช่วยลดให้ลดอาการปวดจากการออกกำลังกาย

การรับประทานขิง ก่อนขี่จักรยานจะช่วยให้ บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อได้ดี

จะช่วยในลดน้ำหนักได้ดี

ชาขิงจะช่วยป้องกันโรค ที่เกี่ยวข้องกับระบบการเผาผลาญ และบรรเทาอาการหิว

ต้านทานการอักเสบ

ขิงอุดมไปด้วยสารที่มีประโยชน์ช่วยต้านการอักเสบ อาทิ เช่น สารจินเจอรอล เนื่องจากการอักเสบจะเป็นต้นตอของโรคเรื้อรัง รวมทั้งโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคอาการปวด และโรคหัวใจ

ช่วยให้ลดริ้วรอยได้

โดยขิงมีสาร ต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยเพิ่มระดับกลูต้า ไธโอน ในร่างกายและสามารถต่อสู้กับสภาวะของความเครียด นอกจากนี้ยังช่วยในการควบคุมกระบวนการเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้อีกด้วย

ช่วยรักษาโรคโลหิตจางได้ด้วย

ขิงจะมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ซึ่งได้แก่จินเจอรอลและโชกาออล โดยจะช่วยในการกระตุ้นการผลิตเซลล์ເม็ดເลือดในร่างกายและทำให้อาการของโรคโลหิตจางดีขึ้นทันตา

ช่วยในรักษาโรคเบาหวานได้

ขิงสามารถลดระดับน้ำตาลในເลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้ นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังค้นพบอีกว่าการดื่มขิงผสมน้ำผึ้งจะช่วยลด สภาวะความเครียดออกซิเดชั่น และภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน


ที่มา...herbtrick.com
7 เหตุผลดีๆ ที่ควรทาน 'ขิง' ให้ได้ทุกวัน 7 เหตุผลดีๆ ที่ควรทาน 'ขิง' ให้ได้ทุกวัน Reviewed by Dusita Srikhamwong on กันยายน 13, 2563 Rating: 5


ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.