วางแผนการออมเงิน 50/30/20 เพื่อชีวิตที่ลงตัว
สำหรับใครที่ไม่อยากจะมานั่งเครียดทุกครั้งที่ใช้เงินบาทสุดท้ายใน
กระเป๋าสตางค์ กฎการออมเงิน 50/30/20 ช่วยให้คุณสามารถบริหาร
จัดการรายได้ เพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่าย ทั้งในส่วนของสิ่งที่จำเป็นในชีวิต
และเป้าหมายในอนาคต ในขณะเดียวกันก็มีเงินเหลือพอสำหรับใช้จ่าย
ให้กับความสุขของชีวิต การทำแผนออมเงินควรคำนวณจากรายรับที่แท้จริง
ของคุณ ซึ่งเป็นรายได้หลังหั กค่าใช้จ่ายเช่น การเสียภาษี และแบ่งเงินของ
คุณออกเป็นสัดส่วน ดังนี้
50%: ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น
20%: เงินออม และชำระหนี้
30%: ใช้กับสิ่งที่ต้องการ
แล้วกฎการออมเงิน 50/30/20 มีวิธีการแบ่งเงินอย่างไร มาดูวิธีแบ่งเงิน
ในแต่ละสัดส่วนอย่างละเอียดกันเถอะ
50%: ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น
อ้างอิงจากกฎการออมเงิน 50/30/20 คุณควรแบ่งเงินครึ่งหนึ่งของ
รายรับไว้สำหรับใช้จ่ายกับส่วนที่จำเป็นในชีวิต อะไรคือค่าใช้จ่ายที่จำเป็น?
ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นคือ สิ่งที่คุณข าดไม่ได้และจำเป็นต้องจ่าย เช่น ค่าบ้าน
ค่าอาหาร ค่าเดินทาง และค่าสาธารณูปโภคอย่าง ค่าน้ำและค่าไฟ
หากคุณยังสับสนและไม่แน่ใจในการแบ่งเงินในส่วนดังกล่าว ลองดู
ตัวอย่างดังต่อไปนี้ ตัวอย่างค่าใช้จ่ายที่อาจจะทำให้คุณสับสน
การชำระหนี้ เจ้าหนี้มักจะกำหนดให้เราต้องชำระเงินจำนวนหนึ่งในแต่
ละเดือน ดังนั้น ค่าใช้จ่ายขั้นต่ำในการชำระหนี้ จึงนับเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่าย
ที่จำเป็น แล้วเราจะจัดการอย่างไรหากเราอยากจ่ายมากกว่ายอดขั้นต่ำ?
เพื่อไม่ให้สับสนและลำบากในการคำนวณ เราจะนับค่าใช้จ่ายนอกเหนือ
จากการชำระหนี้ขั้นต่ำเป็นหนึ่งในสัดส่วนของ 20% ค่าสาธารณูปโภคอื่นๆ
โดยปกติแล้ว เราจะนับว่าค่าสาธารณูปโภคคือค่าใช้จ่ายที่จำเป็น แต่เมื่อ
คิดดูแล้ว การคำนวณเช่นนี้อาจจะไม่ถูกต้องสำหรับทุกคน ตัวอย่างเช่น
หากคุณทำงานที่บ้าน ค่าอินเทอร์เน็ตจะจัดว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็น
แต่ถ้าคุณใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิง ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะถูกจัดว่า
เป็นค่าใช้จ่ายกับสิ่งที่ต้องการ ดังนั้นควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าวิธีการแบ่ง
สัดส่วนเงินเหมาะสมกับการใช้งานของคุณหรือไม่ ใช้เงินเกินงบที่ตั้งไว้หรือไม่?
หากคุณตรวจสอบแล้วว่า ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของคุณบางส่วน จัดอยู่ในอีกสอง
หมวดหมู่เช่นกัน นี่อาจจะถึงเวลาที่คุณต้องลดค่าใช้จ่ายเพื่อให้อยู่ในงบ
ประมาณที่กำหนด เช่น ย้ายไปอยู่บ้านที่เล็กลง ใช้บริการอินเทอร์เน็ตที่มี
ความเร็วช้าลงแต่ประหยัดมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายโดยการซื้อรถที่ราคาถูกลง
หากทำเช่นนั้น มีความเป็นไปได้สูงที่คุณจะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า
ที่คิด ใช้เงินน้อยกว่างบที่ตั้งไว้หรือไม่? คุณช่างโชคดีเหลือเกิน! ก่อนจะนำ
เงินที่เหลือในแต่ละเดือน ไปจับจ่ายใช้สอยเพื่อความบันเทิง คุณควรพิจารณา
และนำเงินที่เหลือไปเก็บในส่วนของเงินออม หรือนำไปชำระหนี้ เพื่อเพิ่ม
สภาพคล่องทางการเงินของคุณ
20%: เงินออมและชำระหนี้
เงินในส่วนนี้นับเป็นส่วนสุดท้ายในกฎการออมเงิน 50/30/20 แต่ถือว่าเงิน
ส่วนนี้เป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอันดับสองของแผนการเงินนี้ สิ่งที่ควรทำเพื่อประกัน
อนาคตของคุณก็คือ ชำระหนี้เพิ่มเติม ออมเงินไว้ใช้ในย ามฉุกเฉิน (เป้าหมาย
ที่ดีคือ ควรมีเงินย ามฉุกเฉินอย่างน้อยสามเท่าของรายรับ) พย ายามบรรลุ
เป้าหมายการออมเงิน และลงทุนเพื่อใช้ในย ามเกษียณ หากคุณมีหนี้จำนวนมาก
หรือรู้สึกว่าเป้าหมายในการออมเงิน และเงินหลังเกษียณช่างห่างไกลเหลือเกิน
อย่าลังเลที่จะลดค่าใช้จ่ายที่จำเป็น หรือลดค่าใช้จ่ายที่จะใช้กับสิ่งที่ต้องการ
จนกว่าคุณจะมีสถานะทางการเงินที่ดีขึ้น หลีกเลี่ยงการตั้งเป้าหมายการออมเงิน
ที่สูงเกินไป แต่เริ่มจากเป้าหมายการออมเงินที่เราสามารถทำได้จริงในระยะย าว!
ควรจัดลำดับความสำคัญอย่างไร หากคุณมีหนี้ค้างชำระ และไม่มีเงินไว้ใช้
ย ามฉุกเฉิน เราขอแนะนำให้คุณจัดลำดับความสำคัญของสิ่งเหล่านี้ไว้ต้นๆ มัน
ไม่ใช่ความคิดที่ดีเลยที่จะละทิ้งการออมเงินระยะย าว และออมเงินสำหรับการ
เกษียณ ยิ่งคุณแก้ปัญหาได้เร็วมากเท่าไหร่ คุณก็จะเริ่มสะสมเงินได้เร็วมากขึ้น
เท่านั้น แม้มันอาจจะเป็นเงินจำนวนไม่มากก็ตาม
ข้อควรรู้เกี่ยวกับสิ่งที่จำเป็น และการอดออมอื่นๆ มีเพียงเงินสำหรับใช้ใน
ยามฉุกเฉิน การลงทุนสำหรับแผนการเกษียณ และการเก็บเงินสำหรับ
เหตุการณ์สำคัญในชีวิต (อย่างเช่น งานแต่งงาน บ้านหลังที่ใหญ่ขึ้นสำหรับ
ครอบครัวที่กำลังเติบโต) เท่านั้นที่จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้ หากคุณต้องการ
เก็บเงินสำหรับทริปวันหยุดพักผ่อน หรือซื้อรถในฝัน คุณสามารถเก็บเงิน
ส่วนนี้ได้ แต่ต้องให้แน่ใจว่าเงินส่วนนี้จะถูกจัดอยู่ในสัดส่วนของค่าใช้จ่าย
กับสิ่งที่ต้องการ
30%: ใช้กับสิ่งที่ต้องการ
ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้จ่ายเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ความฟุ่มเฟือยเล็กๆ น้อยๆ
หรือเพื่อความสนุกสนาน ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จัดว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นใน
การดำรงชีวิต แต่ทำให้ชีวิตของคุณมีสีสันขึ้น หากคุณใช้เงินมากกว่า 30%
ไปกับสิ่งที่ต้องการ นั่นหมายความว่าได้เวลาที่คุณจะตัดหรือลดค่าใช้จ่าย
ในส่วนนี้แล้ว ในช่วงแรกคุณอาจจะลองเริ่มจากสิ่งที่คุณสามารถตั ดหรือลด
ได้ทันที นี่เป็นสิ่งสำคัญมากกว่าที่คิด แน่นอนว่าคุณสามารถเว้นการแบ่งเงิน
เข้าสัดส่วนนี้ แล้วนำไปรวมกับอีกสองสัดส่วนข้างบนได้ ถือว่าเป็นความคิด
ที่ดีมากโดยเฉพาะถ้าคุณกำลังประสบปัญหาทางด้านการเงิน แต่อย่างไรก็
ตามการปล่อยให้ตัวเองไร้ซึ่งความสุขนั้นไม่ใช่ผลดีในระยะย าวอย่างแน่นอน
ดังนั้น เมื่อใดที่สามารถจัดสรรเงินสัดส่วนข้างบนได้แล้ว อย่าลืมใช้เงิน 30%
ของรายได้ไปกับสิ่งที่คุณรักโดยไม่ต้องรู้สึกผิด
จะเริ่มออมเงินโดยใช้กฎ 50/30/20 อย่างไร
เริ่มจากการคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมดและจัดเข้าหมวดหมู่ และจะดียิ่งขึ้นไป
อีกหากคุณสามารถอ้างอิงจากรายการเงินฝากถอนของธนาคาร เพราะหาก
คุณคำนวณโดยการคาดเดา การคำนวณอาจคลาดเคลื่อนได้
คุณอาจจะพบว่าค่าใช้จ่ายบางส่วนของคุณไม่สามารถนำมาจัดอยู่ในหมวดหมู่
50/30/20 ได้ นอกจากนั้นค่าใช้จ่ายของคุณอาจมากกว่าหรือน้อยกว่ารายได้
อย่ากังวลไป นั่นอาจเป็นเพราะว่าคุณใช้กฎ 50/30/20 โดยไม่รู้ตัว ดังนั้น คุณ
อาจจะใช้เวลานี้ปรับแผนการเงินจนกว่าคุณจะพอใจ หรือหากคุณไม่สามารถ
ปรับแผนการเงินได้ลงตัว คุณอาจจะต้องวางแผนลดค่าใช้จ่ายบางอย่าง
ที่มา...create-readingth.com
สำหรับใครที่ไม่อยากจะมานั่งเครียดทุกครั้งที่ใช้เงินบาทสุดท้ายใน
กระเป๋าสตางค์ กฎการออมเงิน 50/30/20 ช่วยให้คุณสามารถบริหาร
จัดการรายได้ เพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่าย ทั้งในส่วนของสิ่งที่จำเป็นในชีวิต
และเป้าหมายในอนาคต ในขณะเดียวกันก็มีเงินเหลือพอสำหรับใช้จ่าย
ให้กับความสุขของชีวิต การทำแผนออมเงินควรคำนวณจากรายรับที่แท้จริง
ของคุณ ซึ่งเป็นรายได้หลังหั กค่าใช้จ่ายเช่น การเสียภาษี และแบ่งเงินของ
คุณออกเป็นสัดส่วน ดังนี้
50%: ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น
20%: เงินออม และชำระหนี้
30%: ใช้กับสิ่งที่ต้องการ
แล้วกฎการออมเงิน 50/30/20 มีวิธีการแบ่งเงินอย่างไร มาดูวิธีแบ่งเงิน
ในแต่ละสัดส่วนอย่างละเอียดกันเถอะ
50%: ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น
อ้างอิงจากกฎการออมเงิน 50/30/20 คุณควรแบ่งเงินครึ่งหนึ่งของ
รายรับไว้สำหรับใช้จ่ายกับส่วนที่จำเป็นในชีวิต อะไรคือค่าใช้จ่ายที่จำเป็น?
ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นคือ สิ่งที่คุณข าดไม่ได้และจำเป็นต้องจ่าย เช่น ค่าบ้าน
ค่าอาหาร ค่าเดินทาง และค่าสาธารณูปโภคอย่าง ค่าน้ำและค่าไฟ
หากคุณยังสับสนและไม่แน่ใจในการแบ่งเงินในส่วนดังกล่าว ลองดู
ตัวอย่างดังต่อไปนี้ ตัวอย่างค่าใช้จ่ายที่อาจจะทำให้คุณสับสน
การชำระหนี้ เจ้าหนี้มักจะกำหนดให้เราต้องชำระเงินจำนวนหนึ่งในแต่
ละเดือน ดังนั้น ค่าใช้จ่ายขั้นต่ำในการชำระหนี้ จึงนับเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่าย
ที่จำเป็น แล้วเราจะจัดการอย่างไรหากเราอยากจ่ายมากกว่ายอดขั้นต่ำ?
เพื่อไม่ให้สับสนและลำบากในการคำนวณ เราจะนับค่าใช้จ่ายนอกเหนือ
จากการชำระหนี้ขั้นต่ำเป็นหนึ่งในสัดส่วนของ 20% ค่าสาธารณูปโภคอื่นๆ
โดยปกติแล้ว เราจะนับว่าค่าสาธารณูปโภคคือค่าใช้จ่ายที่จำเป็น แต่เมื่อ
คิดดูแล้ว การคำนวณเช่นนี้อาจจะไม่ถูกต้องสำหรับทุกคน ตัวอย่างเช่น
หากคุณทำงานที่บ้าน ค่าอินเทอร์เน็ตจะจัดว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็น
แต่ถ้าคุณใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิง ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะถูกจัดว่า
เป็นค่าใช้จ่ายกับสิ่งที่ต้องการ ดังนั้นควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าวิธีการแบ่ง
สัดส่วนเงินเหมาะสมกับการใช้งานของคุณหรือไม่ ใช้เงินเกินงบที่ตั้งไว้หรือไม่?
หากคุณตรวจสอบแล้วว่า ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของคุณบางส่วน จัดอยู่ในอีกสอง
หมวดหมู่เช่นกัน นี่อาจจะถึงเวลาที่คุณต้องลดค่าใช้จ่ายเพื่อให้อยู่ในงบ
ประมาณที่กำหนด เช่น ย้ายไปอยู่บ้านที่เล็กลง ใช้บริการอินเทอร์เน็ตที่มี
ความเร็วช้าลงแต่ประหยัดมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายโดยการซื้อรถที่ราคาถูกลง
หากทำเช่นนั้น มีความเป็นไปได้สูงที่คุณจะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า
ที่คิด ใช้เงินน้อยกว่างบที่ตั้งไว้หรือไม่? คุณช่างโชคดีเหลือเกิน! ก่อนจะนำ
เงินที่เหลือในแต่ละเดือน ไปจับจ่ายใช้สอยเพื่อความบันเทิง คุณควรพิจารณา
และนำเงินที่เหลือไปเก็บในส่วนของเงินออม หรือนำไปชำระหนี้ เพื่อเพิ่ม
สภาพคล่องทางการเงินของคุณ
20%: เงินออมและชำระหนี้
เงินในส่วนนี้นับเป็นส่วนสุดท้ายในกฎการออมเงิน 50/30/20 แต่ถือว่าเงิน
ส่วนนี้เป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอันดับสองของแผนการเงินนี้ สิ่งที่ควรทำเพื่อประกัน
อนาคตของคุณก็คือ ชำระหนี้เพิ่มเติม ออมเงินไว้ใช้ในย ามฉุกเฉิน (เป้าหมาย
ที่ดีคือ ควรมีเงินย ามฉุกเฉินอย่างน้อยสามเท่าของรายรับ) พย ายามบรรลุ
เป้าหมายการออมเงิน และลงทุนเพื่อใช้ในย ามเกษียณ หากคุณมีหนี้จำนวนมาก
หรือรู้สึกว่าเป้าหมายในการออมเงิน และเงินหลังเกษียณช่างห่างไกลเหลือเกิน
อย่าลังเลที่จะลดค่าใช้จ่ายที่จำเป็น หรือลดค่าใช้จ่ายที่จะใช้กับสิ่งที่ต้องการ
จนกว่าคุณจะมีสถานะทางการเงินที่ดีขึ้น หลีกเลี่ยงการตั้งเป้าหมายการออมเงิน
ที่สูงเกินไป แต่เริ่มจากเป้าหมายการออมเงินที่เราสามารถทำได้จริงในระยะย าว!
ควรจัดลำดับความสำคัญอย่างไร หากคุณมีหนี้ค้างชำระ และไม่มีเงินไว้ใช้
ย ามฉุกเฉิน เราขอแนะนำให้คุณจัดลำดับความสำคัญของสิ่งเหล่านี้ไว้ต้นๆ มัน
ไม่ใช่ความคิดที่ดีเลยที่จะละทิ้งการออมเงินระยะย าว และออมเงินสำหรับการ
เกษียณ ยิ่งคุณแก้ปัญหาได้เร็วมากเท่าไหร่ คุณก็จะเริ่มสะสมเงินได้เร็วมากขึ้น
เท่านั้น แม้มันอาจจะเป็นเงินจำนวนไม่มากก็ตาม
ข้อควรรู้เกี่ยวกับสิ่งที่จำเป็น และการอดออมอื่นๆ มีเพียงเงินสำหรับใช้ใน
ยามฉุกเฉิน การลงทุนสำหรับแผนการเกษียณ และการเก็บเงินสำหรับ
เหตุการณ์สำคัญในชีวิต (อย่างเช่น งานแต่งงาน บ้านหลังที่ใหญ่ขึ้นสำหรับ
ครอบครัวที่กำลังเติบโต) เท่านั้นที่จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้ หากคุณต้องการ
เก็บเงินสำหรับทริปวันหยุดพักผ่อน หรือซื้อรถในฝัน คุณสามารถเก็บเงิน
ส่วนนี้ได้ แต่ต้องให้แน่ใจว่าเงินส่วนนี้จะถูกจัดอยู่ในสัดส่วนของค่าใช้จ่าย
กับสิ่งที่ต้องการ
30%: ใช้กับสิ่งที่ต้องการ
ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้จ่ายเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ความฟุ่มเฟือยเล็กๆ น้อยๆ
หรือเพื่อความสนุกสนาน ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จัดว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นใน
การดำรงชีวิต แต่ทำให้ชีวิตของคุณมีสีสันขึ้น หากคุณใช้เงินมากกว่า 30%
ไปกับสิ่งที่ต้องการ นั่นหมายความว่าได้เวลาที่คุณจะตัดหรือลดค่าใช้จ่าย
ในส่วนนี้แล้ว ในช่วงแรกคุณอาจจะลองเริ่มจากสิ่งที่คุณสามารถตั ดหรือลด
ได้ทันที นี่เป็นสิ่งสำคัญมากกว่าที่คิด แน่นอนว่าคุณสามารถเว้นการแบ่งเงิน
เข้าสัดส่วนนี้ แล้วนำไปรวมกับอีกสองสัดส่วนข้างบนได้ ถือว่าเป็นความคิด
ที่ดีมากโดยเฉพาะถ้าคุณกำลังประสบปัญหาทางด้านการเงิน แต่อย่างไรก็
ตามการปล่อยให้ตัวเองไร้ซึ่งความสุขนั้นไม่ใช่ผลดีในระยะย าวอย่างแน่นอน
ดังนั้น เมื่อใดที่สามารถจัดสรรเงินสัดส่วนข้างบนได้แล้ว อย่าลืมใช้เงิน 30%
ของรายได้ไปกับสิ่งที่คุณรักโดยไม่ต้องรู้สึกผิด
จะเริ่มออมเงินโดยใช้กฎ 50/30/20 อย่างไร
เริ่มจากการคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมดและจัดเข้าหมวดหมู่ และจะดียิ่งขึ้นไป
อีกหากคุณสามารถอ้างอิงจากรายการเงินฝากถอนของธนาคาร เพราะหาก
คุณคำนวณโดยการคาดเดา การคำนวณอาจคลาดเคลื่อนได้
คุณอาจจะพบว่าค่าใช้จ่ายบางส่วนของคุณไม่สามารถนำมาจัดอยู่ในหมวดหมู่
50/30/20 ได้ นอกจากนั้นค่าใช้จ่ายของคุณอาจมากกว่าหรือน้อยกว่ารายได้
อย่ากังวลไป นั่นอาจเป็นเพราะว่าคุณใช้กฎ 50/30/20 โดยไม่รู้ตัว ดังนั้น คุณ
อาจจะใช้เวลานี้ปรับแผนการเงินจนกว่าคุณจะพอใจ หรือหากคุณไม่สามารถ
ปรับแผนการเงินได้ลงตัว คุณอาจจะต้องวางแผนลดค่าใช้จ่ายบางอย่าง
ที่มา...create-readingth.com
วางแผนการออมเงิน 50/30/20 เพื่อชีวิตที่ลงตัว
Reviewed by Dusita Srikhamwong
on
กุมภาพันธ์ 16, 2565
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: