ผักชี ผักชีลา ผักหอมป้อม ทานเป็นผักแนม ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง บำรุงสายตา บำรุงธาตุ




ผักชี ผักชีลา ผักหอมป้อม ทานเป็นผักแนม ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง บำรุงสายตา บำรุงธาตุ

ผักชี ผักชีลา ผักหอมป้อม (Coriander) ผักสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารหรือรับประทานเป็นผักสดกันอย่างแพร่หลาย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักชีไทย ผักหอม (นครพนม), ยำแย้ (กระบี่), ผักหอมป้อม ผักหอมผอม (ภาคเหนือ), ผักหอมน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น

ผักชี มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน อินเดีย และเอเชียตะวันตก เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ใบติดกับลำต้น มีใบย่อยเป็นจำนวนมาก ใบหยักลึกเข้าหากลางใบ ดอกช่อ ดอกย่อยสีขาวอมชมพู ผลมีลักษณะรี ค่อนข้างกลม แก่จัดเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล มีเมล็ด 2 เมล็ด

ผักชี เป็นผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในการนำมาใช้ประกอบอาหารต่าง ๆ เพื่อทำให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น แถมยังมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายประการอีกด้วย

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การรับประทานผักชีควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม หากรับประทานมากจนเกินไปอาจจะทำให้มีกลิ่นตัวแรง มีอาการตาลาย ลืมง่ายได้



ประโยชน์ของผักชี

ใบนำมารับประทานเป็นผักแนม รับประทานกับอาหารอื่น หรือนำมาใช้ปรับแต่งหน้าอาหาร (ใบ)

ช่วยถนอมอาหาร (ใบ)

ช่วยดับกลิ่นเนื้อและกลิ่นคาวต่าง ๆ (ผล)

สรรพคุณของผักชี

ผักชีช่วยบำรุงและรักษาสายตา

ช่วยให้เจริญอาหารมากยิ่งขึ้น ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดเป็นผงรับประทานหรือนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ผล, ใบ)

ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)

ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (ใบ)

ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (ใบ)

ช่วยกระตุ้นการทำงานของเลือดพลาสมาและกล้ามเนื้อ (ใบ)

ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง (ใบ)

ช่วยขับเหงื่อ ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 60 กรัมนำไปต้มกับน้ำดื่ม หรือจะคั้นเอาเฉพาะน้ำมาดื่มแก้อาการก็ได้ (ทั้งต้น)

ใช้เป็นน้ำกระสายยา ช่วยกระทุ้งพิษไข้หัว ไข้อีดำอีแดง (ราก)

ช่วยแก้อาการหวัด (ใบ)

ช่วยแก้ไอ (ใบ)

ช่วยละลายเสมหะ ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 60 กรัมนำไปต้มกับน้ำดื่ม หรือจะคั้นเอาเฉพาะน้ำมาดื่มแก้อาการก็ได้ (ทั้งต้น)

ช่วยแก้อาการสะอึก (ใบ)

ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (ใบ)

ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ (ใบ)

ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ (ใบ)

ใช้แก้อาการปวดฟัน เจ็บปาก ด้วยการใช้ผลนำมาต้มน้ำ แล้วนำมาอมบ้วนปากบ่อย ๆ (ผล)

ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดเป็นผงรับประทานหรือนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ผล)

ผลแก่ใช้เป็นเครื่องเทศ มีกลิ่นหอม เมื่อใช้ผสมกับตัวยาอื่น จะช่วยกระตุ้นต่อมในกระเพาะอาหารและลำไส้ เพิ่มน้ำดีให้มากขึ้น (ผลแก่)

ช่วยรักษาอาการปวดท้อง (ผล)

ช่วยแก้อาการบิด ถ่ายเป็นเลือด ด้วยการใช้ผลประมาณ 1 ถ้วยชา นำมาตำผสมกับน้ำตาลทรายแล้วนำมาผสมน้ำดื่ม (ผล)

ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ด้วยการใช้ผลประมาณ 2 ช้อนชานำมาต้มกับน้ำดื่ม (ผล)

ช่วยย่อยอาหาร (ผล, ใบ)

ช่วยขับลมในกระเพาะ (ใบ)

ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร มีเลือดออก ด้วยการใช้ผลสดนำมาบดให้แตกผสมกับเหล้า ดื่มวันละ 5 ครั้ง หรือจะใช้ต้นสดประมาณ 120 กรัม นำมาใส่นม 2 แก้วผสมน้ำตาลดื่ม (ผล, ต้นสด)

ช่วยแก้พิษตานซาง (ใบ)

ช่วยแก้ตับอักเสบ (ใบ)

ช่วยขับลมพิษ (ใบ)

ช่วยแก้โรคหัด (ใบ)

ใช้รักษาเหือด หิด อีสุกอีใส (ราก)

ช่วยต่อต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และไข่ของแมลง (ใบ)

ช่วยแก้เด็กเป็นผื่นแดง ไฟลามทุ่ง ด้วยการใช้ต้นสด นำมาหั่นเป็นฝอย ๆ ใส่ลงไปในเหล้าแล้วต้มให้เดือด นำมาใช้ทา (ต้นสด)

ช่วยให้ผื่นหัดออกเร็วขึ้น โดยใช้ต้นสดนำมาหั่นเป็นฝอย ๆ ใส่ลงไปในเหล้า ต้มให้เดือด นำมาใช้ทา (ต้นสด)

ช่วยลดอาการปวดบวมตามข้อ (ใบ)


อ้างอิงข้อมูลบางส่วน https://medthai.com/
ผักชี ผักชีลา ผักหอมป้อม ทานเป็นผักแนม ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง บำรุงสายตา บำรุงธาตุ ผักชี ผักชีลา ผักหอมป้อม ทานเป็นผักแนม ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง บำรุงสายตา บำรุงธาตุ Reviewed by Dusita Srikhamwong on กรกฎาคม 27, 2562 Rating: 5


ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.