นาข้าวสีชมพู แหล่งท่องเที่ยวสุดตระการตา ฝีมือเกษตรกรหนุ่ม 2 ปริญญา หนึ่งเดียวที่พิษณุโลก
กลายเป็นที่ฮือฮาและน่าตื่นตาตื่นใจสำหรับหลายคน หลังชาวโซเชียลเปิดเผยภาพนา "ข้าวสีชมพู" สุดงดงามเต็มทุ่ง ระบุว่าอยู่ใกล้กับโรงแรมสิงหวัฒน์ ต.ท่าโพธิ์ อ.เมืองพิษณุโลก จึงไปตรวจสอบพบว่านาข้าวสีชมพูดังกล่าว อยู่ที่บ้านในไร่ ต.ท่าโพธิ์ เป็นนาข้าวอินทรีย์ของ นายจตุรงค์ ชมภูษา อายุ 31 ปี
นายจตุรงค์ เปิดเผยว่า เมื่อปี 2556 ตนนำเมล็ดพันธุ์ข้าวมาจากสุพรรณบุรี เป็นพันธุ์ข้าวไรซ์เบอรี่ เพื่อนำมาปลูกซึ่ง "ข้าวสีชมพู" นี้ตนตั้งชื่อสายพันธุ์ว่า ข้าว Pink Lady ต้นพันธุ์พบขึ้นแซมอยู่ในแปลงข้าวไรซ์เบอรี่ของตน เจ้าหน้าที่ที่มาตรวจดูนาข้าวเห็นก็บอกให้ตนถอนทิ้ง แต่ตนไม่ได้ทิ้ง เอาไปปลูกไว้ด้านหลังบ้าน แล้วขยายพันธุ์มาเรื่อยๆ ก่อนที่จะปลูกชุดนี้ นับเป็นครั้งที่ 4 ที่ตนปลูกต้นข้าวสีชมพู และนาข้าวของตนทั้งหมดไม่ใช้ ส า ร เ ค มี ใช้แต่น้ำหมักเท่านั้น
หนุ่มเจ้าของนาข้าวสีชมพู กล่าวอีกว่า เมื่อวานนี้มีเจ้าหน้าที่มาตรวจประเมินชาวนาดีเด่นระดับประเทศของเกษตรกรที่ ต.บ่อทอง อ.บางระกำ ที่ปลูกข้าวอินทรีย์ทับทิมชุมแพ ซึ่งจะนำมาสีและแพ็กที่บ้านของตน เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจได้มาดูนาข้าวของตนซึ่งเป็นเครือข่ายเดียวกัน และถ่ายรูปนำไปลงในเพจพิษณุโลกบ้านเรา
"การที่มีคนสนใจก็รู้สึกดี แต่อีกทางก็กลัวว่าคนจะมาเยอะ จะไปไหนกันไม่ได้ เราทำนาแบบครบวงจรเพียงสามคนพ่อแม่ลูก เวลาต้อนรับก็จะน้อย ถ้าจะดูก็อย่าไปจับต้นข้าวหรือดึงรวงข้าว อยากให้ข้าวสีชมพูอยู่ที่นี่ ไม่ได้อยากหากินกับข้าวสีชมพูหรือข้าวต้นดำที่ปลูก แต่อยากให้ที่นี่เป็นจุดท่องเที่ยวจุดหนึ่งที่สามารถดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ มาเที่ยวกัน ไม่ใช่ว่ามากราบพระพุทธชินราชแล้วก็จากไป อยากให้พวกเขามาดูว่าข้าวพิษณุโลกมีดีอะไร สินค้าเกษตรพิษณุโลกมีดีอะไร ต่อไปที่นี่จะเป็นศูนย์รวมสินค้าดีเด่นของจังหวัด คาดว่าปลายปีนี้จะทำได้สำเร็จ สินค้าเกษตรกรพิษณุโลกไม่ขี้เหร่แต่ไม่เคยเปิดตัวให้ใครรู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้าว ผลไม้ สินค้าแปรรูปต่างๆ"
นายจตุรงค์ กล่าวอีกว่า ตนเรียนจบสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.นเรศวร และจบสาขาการจัดการจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พอเรียนจบก็ทำงานประจำ แต่ลาออกมาได้ 3 ปีแล้ว เพราะอยากรู้ว่าชาวนาทำไมถึงจน เลยลาออกมาเพื่อเรียนรู้ตามศาสตร์ที่พ่อบอกว่า ต้องเข้าใจ เข้าถึงจะพัฒนา ทำเองให้หมด เรียนรู้จากตนเอง จากคนรอบข้าง จากเพื่อน อยากรู้อะไรก็เรียนรู้ ไม่อย่างนั้นเราไม่สามารถพัฒนาชาวบ้านจริงๆ ได้ ถ้าเราทำตัวสูงมีอีโก้ มีหัวโขน เราจะไม่ได้เรียนรู้ที่แท้จริง ตนเรียนรู้ตั้งแต่ข้างล่างขึ้นมา 3 ปี ที่ทำนามา เห็นได้เลยว่าอาชีพนี้ถู ก ดู ถู ก มาก แม้ว่าข้าวทุกคนจะต้องกิน และมีคุณค่าต่อตัวเรา
ส่วนในเรื่องของคุณภาพข้าวสีชมพูที่ผ่านมายังไม่ได้ทดสอบ เพราะเมื่อปลูกเสร็จก็จะเก็บเกี่ยวพันธุ์เมล็ดข้าวเพื่อมาคัดแยกและทดลองปลูกต่อ จนสามารถปลูกได้ในพื้นที่ 4 ตารางเมตรเท่าที่เห็นตอนนี้ แต่การที่จะได้ข้าวสีชมพูต้องขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ปลูก คือต้องปลูกในช่วงฤดูหนาว โดยใช้เวลา 120 วัน จึงจะเก็บเกี่ยวได้ ส่วนข้าวไรซ์เบอรี่สีดำ ผลผลิตที่ได้เมล็ดข้าวมีขนาดสั้น อ้วนและป้อม คล้ายกับข้าวญี่ปุ่นแต่จะป้อมกว่า ข้าวไรซ์เบอรี่ 1 กิโลกรัม ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 80 บาท สำหรับผู้ใดที่สนใจอยากชมต้นข้าวสีชมพูก็สามารถมาชมได้ที่บ้านในไร่ หมู่ 11 ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก
ด้าน นายล้อมพงศ์ ชมภูษา อายุ 58 ปี เจ้าของนาข้าว และเป็นพ่อของนายจตุรงค์ เปิดเผยว่า ข้าวสีชมพูที่ปลูกไว้จะบานดูสวยงามในเวลาเช้าถึง 09.00 น. และตั้งแต่เวลา 15.00 น.เป็นต้นไป เพราะโปร่งแสง คือช่วงสี่โมงเช้าถึงสามโมงเย็นต้นข้าวจะหลับหรือหุบเพราะต้นข้าวจะพักผ่อน ถ้าเราจะ ฉี ด ย า บำรุงก็ต้องฉีดก่อนสามโมงเช้า หรือสามโมงเย็นเป็นต้นไปแล้วแต่ความสะดวกของเรา
ซึ่งนาข้าวทั้งหมดนี้ตนยกให้ลูกชายดูแลจัดการเองทั้งหมด หลังมีคนถ่ายภาพแปลงข้าวสีชมพูไปลงโซเชียล ทำให้มีผู้สนใจเข้ามาชมที่นาข้าวของตนเป็นจำนวนมาก ซึ่งตนก็อนุญาตให้ชมเพียงแต่ขอความร่วมมือว่าอย่าจับต้นข้าวเท่านั้น
ข้อมูลและภาพจาก thairath
นาข้าวสีชมพู แหล่งท่องเที่ยวสุดตระการตา ฝีมือเกษตรกรหนุ่ม 2 ปริญญา หนึ่งเดียวที่พิษณุโลก
Reviewed by Dusita Srikhamwong
on
มกราคม 08, 2563
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: