ข้าวของราคาแพง ค่าใช้จ่ายมีแต่จะเพิ่มขึ้น สินค้าก็มีแต่ขึ้นราคา แต่เงินเดือนไม่ยักขึ้นตาม สุดท้ายก็ต้องกู้ห นี้ยืมสิน มีห นี้บัตรเครดิตพ่วงย าวเป็นวา เงินออมไม่ต้องพูดถึง จริงๆ วันนี้เรามาดู วิธีการออมเงินง้ายง่าย เป็นคนเก็บเงินไม่เก่งก็ทำได้
โดยวิธีเก็บเงินเก็บทอง ที่จะนำเสนอนี้ นอกจากมีความสนุกสนาน หรือบางคนอาจอุทานออกมาว่า“ทำไปได้” ยังมีความท้าทาย ติดปลายนวมอีกด้วย เมื่อการวางแผนการเงินมีความชิลทำให้ไม่รู้สึกถึงความอึดอัด มีลำบากย ากเข็ญ หรือทำแบบขอไป ทีเลยกลายเป็นว่าได้ผล ชนิดที่เจ้าตัวแทบไม่รู้สึกเลยว่า กำลังทำอะไรอยู่ ที่สำคัญไม่รู้ตัวว่า กำลังมี “วินัย”กับเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ
แบบที่ 1 ( 30 วัน 627 บาท )
เหมาะกับมือใหม่หัดออมเงิน เงินเดือนยังไม่มาก หรือยังมีภาระค่าใช้จ่ายสูงวิธีการคือในแต่ละเดือน ให้ออมเงินลดลง วันละบาทเช่น วันที่ 1 ออม 30 บาทวัน ที่ 2 ออม 29 บาทวันที่ 3 ออม 28 บาทวันที่ 4 ออม 27 บาทแล้วทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนวันที่ 30 ออม 1 บาทเหตุผลที่ให้ทำแบบนี้และถ้าทำแบบนี้ ในแต่ละเดือน จะมีเงินเก็บ 627 บาท ปีละ 7,524 บาทถึงแม้จะดูไม่มาก แต่ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย
แบบที่ 2 ( 7 วัน 140 บาท )
เหมาะกับมือใหม่ หัดออมเช่นเดียวกัน และเบี้ยน้อยหอยน้อย วิธีการแสนง่ายดายด้วยการเก็บเงินเป็นรายสัปดาห์เริ่มจากวันอาทิตย์ เก็บ 5 บาทจันทร์เก็บ 10 บาทอังคารเก็บ 15 บาท พุธเก็บ 20 บาท พฤหัสบดีเก็บ 25 บาทศุกร์เก็บ 30 บาท และเสาร์เก็บ 35 บาท (มีเงินเก็บทั้งสิ้น 140 บาท)พอขึ้นสัปดาห์ใหม่ ก็เก็บเงินแบบเดิมสัปดาห์ถัดไป ก็ทำแบบเดิมทำแบบนี้ ไปเรื่อยๆถึงแม้แต่ละเดือน จะมีเงินเก็บไม่กี่ร้อยบาท แต่สิ่งที่ได้และสำคัญต่อแผนการใหญ่ด้านการวางแผนการเงินในอนาคตก็คือระเบียบวินัย
แบบที่ 3 ( 12 เดือน 45,000 บาท )
เหมาะกับใครที่ต้องการท้าทาย ตัวเองวิธีการคือออมเงินทุกเดือน แล้วก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่นมกราคม
เก็บ 1,000 บาท กุมภาพันธ์เก็บ 1,500 บาท มีนาคมเก็บ 2,000 บาทเมษายนเก็บ 2,500 บาทนั่น
คือเก็บเงิน เพิ่มเดือนละ 500 บาท จนถึงธันวาคมที่เก็บ 6,500 บาท ซึ่งหากทำแบบนี้ ภายใน 1 ปีจะ
มีเงินเก็บ ทั้งสิ้น 45,000 บาท ปีถัดไปเจ้านายใจดี เพิ่มเงินเดือน ให้ก็อาจจะเริ่มต้นเก็บเงินเดือนมกราคม
เป็น1,500บาทกุมภาพันธ์เก็บ2,000บาท(เก็บเงินเพิ่ม เดือนละ 500 บาท) จนถึงธันวาคมที่เก็บ 7,000
บาท หากทำแบบนี้ ในปีนั้น จะมีเงินเก็บ ทั้งสิ้น 51,000 บาท แค่สองปี ก็มีเงินเก็บ 96,000 บาททำให้
หัวใจพองโต และอย ากจะเก็บเงินต่อไป เรื่อยๆและปีที่สามเริ่มต้นที่ 2,000 บาท และปีถัด ๆ ไป ก็ทำแบบนี้
ไปเรื่อยๆ เพียงแค่เพิ่มจำนวนเงินถ้าทำได้ 10 ปี ต่อเนื่องไม่อย ากคิดเลยว่า จะมีเงินเก็บมากแค่ไหน และยิ่ง
รู้จักนำไปลงทุนสร้างผลตอบแทนให้ได้สม่ำเสมอ เงินจะยิ่งงอก เงยขึ้นเรื่อยๆ
แบบที่ 4 (6 เดือน 10,300 บาท)
เป็นความสนุกสนาน แถมเกิดการเรียนรู้เรื่องเป้าหมาย ด้วยวิธีการคือ มกราคมเก็บ 1,000 บาท กุมภาพันธ์
เก็บ 2,000 บาท พอถึงเดือนมีนาคม ต้องเก็บเงินให้ได้เท่ากับ หรือมากกว่า เดือนมกราคมสมม ติว่าเก็บ
1,200 บาทถึง เดือนเมษายนยิ่งสนุก และท้าทายเพราะต้องเก็บให้ได้เท่ากับ หรือมากกว่าเดือนกุมภาพันธ์
สมมติว่า เก็บ 2,300 บาท มาถึงเดือนพฤษภาคม ก็ต้องเก็บให้ได้เท่ากับ หรือมากกว่า เดือนมีนาคมสมมติ
เก็บ 1,300 บาท และเดือนมิถุนายน ต้องเก็บให้ได้เท่ากับ หรือมากกว่าเดือน เมษายน สมมติเก็บ 2,500
บาท ถ้าทำได้ แค่ครึ่งปีแรก จะมีเงินเก็บ 10,300 บาทเ ช่นเดียวกัน พอครึ่งปีหลัง (กรกฎาคม–ธันวาคม)
ก็ใช้วิธีเดิม สรุปแล้วปีนั้น มีเงินเก็บทั้งสิ้น 20,600 บาท และจะเพิ่มความสนุกสนานมากขึ้น กับวิธีนี้ แนะนำ
ให้ทำเป็นตารางในสมุด
แบบที่ 5 เก็บเงินเพิ่มวันละบาทปี เดียวทะลุครึ่งแสน
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อเมื่อ เก็บเงินเพิ่มวันละบาทเก็บไปเรื่อย ๆ ห้ามหยุดแม้แต่วันเดียวพอ ถึงวันสุดท้ายของปี ก็
เปิดกระปุกดู เงินเก็บกลายเป็น 66,795 บาทถ้าทำอย่างนี้ไปทุกปี ๆ แล้วนำเงินเก็บทั้งหมดไปลงทุน เพื่อให้
ได้ผลตอบแทนจาก 1 บาท จะกลายเป็นหลักล้านบาท ภายในไม่กี่ปี เทคนิคของการ เก็บเงินเพิ่มวันละบาท
ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปากวันที่ 1 ออม 1 บาท วันที่ 2 ออม 2 บาท วันที่ 365 ออม 365 บาททำแบบ
นี้ไปเรื่อยๆจนถึงวันสุดท้าย ของปีภายใน 1 ปีจะมีเงินออม ทั้งสิ้น 66,795 บาท
แบบที่ 6 (วันละ 30 บาท 12,000 บาท)
วิธีการคือตกเย็นหลังกลับ จากออฟฟิศ ให้นำเงิน 30 บาทไป หยอดกระปุกสิ้นเดือน จะได้900บาท
สิ้นปีได้ 10,800 บาท และเพื่อให้การออมเงิน สนุกสนานขึ้น อาจจะมองว่า 900 บาท เป็นตัวเลข
ไม่สวย ถ้าเป็นเช่นนั้น ตอนสิ้นเดือนลองเติมอีก 100 บาท ก็จะมีเงินเก็บ 1,000 บาทต่อเดือนสิ้นปี
เบาะๆ ก็ 12,000 บาท เปลี่ยนเศษเงินเป็นเงิน หมื่นเงินแสน ตื่นเต้นไม่แพ้วิธีอื่น ๆ นั่นคือหักเศษ
เงินเดือน โดยเมื่อเงินเดือนเข้ามาในบัญชี อย่าพึ่งใช้ แต่ให้ดูว่ามียอดเท่าไหร่ สมมติว่าอยู่ ที่28,860
บาท ก็ให้นำไปหยอดกระปุกทันที 860 บาท ถ้าทำแบบนี้ ทุก ๆเ ดือนคิดดูว่าสิ้นปีจ ะมีเงินเก็บเท่าไหร่
มาถึงตรงนี้หลายๆคนอาจะมีคำถามว่า จะเลือกใช้วิธีไหน คำตอบคือเอาที่สบายใจ เพราะการออมเงินหรือ
การลงทุนเป็นเรื่องส่วนตัวขึ้น อยู่กับความชอบความพอใจหรือกำลังของแต่ละคน อย ากจะบอกว่าการออมเงิน
ถ้าทำให้เป็นเรื่องสนุกเหมือนกำลังดูคอนเสิร์ตศิลปินที่ชื่น ชอบดูละครหลัง ข่าวหรือดูทีมฟุตบอล ในดวงใจ
แข่งขันรับรองจะไม่รู้สึกว่าเป็นภาระของชีวิตอะไรเลย เผลอ ๆ พอออมเงินไปสักพักแล้วมองว่าเก็บได้
น้อยเกินไป อาจมีพลังบางอย่างที่ทำให้ต้องการหยอดกระปุก เพิ่มก็เป็นได้
หากเรามีเป้าหมายชัดเจนสำหรับการออมเงิน ว่าเราต้องการออมเงินไปเพื่ออะไร แม้ว่าจะเป็นการออมเงินเพื่อการมีเงินสะสม เพื่ออนาคตที่สุขสบาย ก็ยังเป็นเป้าหมายที่ดีค่ะ แล้วเราก็ใช้เป้าหมายเหล่านี้แหละค่ะมาเตือนตัวเองเวลาเราคิดจะแคะกระปุกเอาเงินไปใช้ ว่าเราอุตส่าห์อดทนออมเงินเพื่ออะไรกันแน่ พอเรานึกถึงเป้าหมายแล้วรับรองว่าสามารถเอาชนะใจตัวเองได้แน่นอนค่ะ
ขอบคุณ lamunlamai
6 วิธีออมเงินให้สนุก มีเงินเก็บเงินใช้ไปตลอด
Reviewed by Dusita Srikhamwong
on
ตุลาคม 08, 2563
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: