1. ใช้เงิน เพิ่มขึ้นกว่าเดิม
ไม่ผิดหรอกที่คิดว่า “อย ากมีชีวิตที่ดีขึ้น” แต่อย่าลืมว่าเราไม่จำเป็นต้องมา กับรายจ่ายที่มากขึ้นหรอกนะ
ลองใช้ชีวิตให้ง่ายขึ้น เลิกเป็นนักสะสม เท่านี้ก็ทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้นได้แล้วนะ
เงินเดือนเพิ่ม แล้วใช้จ่ายเพิ่ม สุดท้ายอาจได้แค่ “อย าก” มีชีวิตที่ดีขึ้น เพราะเรื่องเหล่านี้
อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมา โดยเฉพาะหนี้ สิน ที่พอกพูนแบบไม่รู้ตัว
2. ไม่ใส่ใจ อนาคตของตัวเอง
เมื่อเจอกับปัญหา หลายคนเลือกที่จะหนี หรือบ่ายเบี่ยงไปทำอย่างอื่น แล้วปัญหาก็ยังคงกองอยู่ตรงหน้าและอาจหนักขึ้น
ในเรื่องของการเงินก็เหมือนกัน หลายคนสนใจกับความสุขในวันนี้ กินอิ่ม เที่ยวบ่อย ใช้ให้เต็มที่
ทั้งที่รู้ว่ายัง ไม่มีเงินเก็บสำหรับอนาคตเลย ไม่มีเงินสำหรับย ามฉุ กเฉิ น ไม่เคยวางแผน ไม่แม้แต่จะลงมือทำ
และปัญหาก็ยังคงเป็นปัญหาอยู่อย่างนั้น มันจะดีกว่าไม่น้อย หากการตัดสินใจใช้เงินทุกครั้ง เราได้คิดถึง “อนาคต” บ้าง
เกษียณที่ว่าต้องใช้เงินเยอะ เรามีเท่าไหร่แล้ว หัดอดเปรี้ยวไว้กินหวานบ้าง
3. ไม่สนใจเรื่อง หนี้
น้อยคน ที่จะ “ไม่มีหนี้” แล้วคนมีหนี้จำนวนมาก กลับให้ความสำคัญกับการ “ชำ ร ะ หนี้” น้อยมาก หรือบางคนนะ
ไม่ให้ความสำคัญกับการจัดการหนี้เลย จึงตกอยู่ในวังวนของ “หนี้” อย่างไม่มีทางสิ้นสุด เพราะเมื่อได้เงินมา
ก็มัวแต่สนุกกับการใช้จ่าย จนทบต้นไปเรื่อย ๆ ในทางตรงกันข้ามนั้น คนที่อย ากรวยจะ “กลั วหนี้” มาก
พวกเขาจึงให้ความสำคัญกับ “หนี้” มากๆ พอมีร ายได้เข้ามาก็จะรีบชำ ร ะ หนี้ ก่อนเสมอ
4. ไม่เคยจดเรื่อง การใช้เงินของตัวเอง
หลายคนไม่เคยแม้แต่จะจดเรื่อง “เงิน” ของตน ทั้งที่เป็นเรื่องที่ดี เพียงเพราะคิดว่าเรารู้อยู่แล้วว่า
รับ จ่าย ออม เท่าไหร่ จริงอยู่ที่เราอาจรู้ แต่นั่นอาจเป็นแค่ก้อนใหญ่ ๆ ไง แต่รายจ่ายจิปาถะ กาแฟ ขนม
เสื้อผ้า อุปกรณ์ต่าง ๆ อีกมากมาย ก่อนจะรวมเป็นหนี้ บัต รเค รดิ ตก้อนใหญ่ หลายคนไม่เคยจะสนใจ
และนั่นก็เป็น รู รั่ ว เล็ก ๆ สร้างผลกระทบ อันหนักหน่วง ต่อสถานะการเงิน โดยเราเองไม่รู้ตัว
5. ไม่เคยตั้ง งบ ในการใช้จ่าย
บริษัทก็ยังมี งบการเงิน เรื่องการเงินส่วนบุคคล ก็เช่นกัน หลายคนไม่เคยตั้ง “งบประมาณ” การใช้เงินเลย
จะช้อปปิ้งปีใหม่ จะเที่ยว ก็จัดเต็ม และสุดท้ายก็เกินความจำเป็น เกินกำลังของตัวเอง และกลายเป็น “หนี้”
วิธีการที่ง่ายกว่าก็คือ “ตั้ง งบประมาณ” การใช้จ่าย เช่น จะซื้อของวาเลนไทน์ ให้คนรักไม่เกินกี่บาท,
จะไปเที่ยวทริปกลางปี รวมเท่าไหร่ ทำตามแผนไม่ใช้เกินงบ รับรองว่าเราจะตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปได้เยอะ
6. แยกไม่ออกระหว่าง จำเป็น หรือ ต้องการ
ง่ายที่สุดก็คือ ต้องรู้ว่าสิ่งไหนต้องมี (จำเป็น) ขาดไปแล้วจะใช้ชีวิตไม่ได้ เช่น ปัจจัย 4 หรือสิ่งไหนมีก็ดี
ไม่มีก็ได้ (ต้องการ) แต่หากมีแล้วชีวิตจะดีขึ้น เช่น เสื้อผ้าแบรนด์เนม อาหารจานหรู หรือสิ่งไหนไม่จำเป็นต้องมี
แต่หากแยกไม่ได้ และเอาอารมณ์เป็นที่ตั้ง มันจะทำให้เรามีแต่จ่ายกับจ่าย เช่นนี้ไปเรื่อยๆ
7. คิดว่า เร็วไปที่จะออม
ในวันที่เรายังตื่นตาตื่นใจกับสิ่งรอบๆ ตัว ภาพล วงของ “ความจำเป็น” ผุ ดขึ้นมาตรงหน้า และทำให้เราเสียทรัพย์อยู่ร่ำไป
ทั้งที่สิ่งเหล่านั้นอาจเป็นแค่ “ความต้องการ” ไม่มีก็ได้ เลิกผัดวันประกันพรุ่งสักที แล้วเริ่มออมเงิน จะสิบ ร้อย
พัน หมื่น ก็ดีกว่าไม่เริ่ม หลังจากนั้นสร้างวินัยให้กับตัวเอง ด้วยการออมต่อเนื่อง แม้จะไม่อย ากออมก็ตาม
เพราะมันเป็น วินัย คือการทำสิ่งที่ต้องทำ แม้จะ “ไม่อย ากทำ” ก็ตามเถอะ
8. เป็นสาวก เทคโนโลยีใหม่ๆ
หากใครเป็นแฟนพันธุ์แท้ เทคโนโลยี จะรู้เลยว่าไม่มีวันหยุด สำหรับอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามเท่าไหร่เงินก็จะยิ่ง
ออกจากกระเป๋ามากขึ้น และนั่นทำให้ร ายได้ที่มากขึ้น “ไม่เคยพอ” ไม่ผิดถ้าจะซื้อโทรศั พท์เครื่องใหม่
ไม่แปลกที่จะมีอุปกรณ์คู่กาย แต่เราต้องใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เราซื้อให้เต็มที่ให้ได้ และคุ้มค่า จริง ๆ
ขอขอบคุณ aansanook
8 นิสัย เลิกได้แล้ว ถ้ายังอยากมีกินมีใช้
Reviewed by Dusita Srikhamwong
on
พฤศจิกายน 10, 2563
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: