21 วิธีทำวนไปไม่ต้องคิด ทำทั้งปี มีเงินเก็บ สะดวกแบบไหนก็เลือกแบบนั้น




วิธีออมเงินง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็ทำได้ คัดมาให้เลือกถึง 21 วิธี

สะดวกแบบไหน เลือกออมได้ตามใจ เริ่มทำวันนี้สิ้นปีรวยแน่ปัญหาใหญ่ของมนุษย์เงินเดือนยุคนี้

ก็คือไม่มีเงินเก็บ เพราะเห็นอะไรล่อตาล่อใจ หน่อยก็ควัก กระเป๋าจับจ่ายกัน สบายอารมณ์

พอเงินเดือนออกปุ๊บ ก็กดไปใช้หนี้กันหมด แล้วจะเอาเงินที่ไหนมาเก็บล่ะเนี่ย

ใครกำลังประสบปัญหาเก็บเงินไม่อยู่แบบนี้รีบมาดูวิธีออมเงินแบบง่าย ๆ

ที่เรารวบรวมมาให้ถึง 21 วิธี ลองเลือกสักวิธี ที่คิดว่าตัวเองทำได้ ไม่ลำบากจนเกินไป

ทำวนไปทุกวันตั้งแต่ต้นปี แล้วมาดูตัวเลขเงินเก็บตอนสิ้นปีกัน ว่าจะทำให้เราตาโตได้ ขนาดไหน

1.เก็บเฉพาะแบงก์ห้าสิบ

เป็นวิธีออมเงินสุดแสนจะเบสิกแต่ได้ผลดีนักแล

2.เก็บแบงก์ร้อย

แบงก์ร้อยที่ลงท้ายด้วยเลขที่เราชอบ เช่น ถ้าเจอแบงก์ร้อย ที่ลงท้ายด้วยเลข 9 ก็ให้เก็บไว้

หรือเราเกิด วันที่ 1 ถ้าเจอแบงก์ร้อย ลงท้ายด้วยเลข 1 ก็หยอดกระปุกไป

3.เก็บเศษเงินทอน

เงินทอนที่ได้มา ให้นำไปหยอดกระปุกทุกครั้งที่ใช้จ่าย อย่าดูถูกพลังของเศษเหรียญบาทเหรียญสองบาทเหรียญสลึงเชียว

4.เก็บแบงก์ใหม่

เจอแบงก์ใหม่ให้เก็บ เวลาถอนออกมาจากตู้ ATM หรือได้เงินทอนมาให้เก็บไว้เลย

จะเก็บทุกแบงก์ หรือเก็บเฉพาะแบงก์ไหนเป็นพิเศษ ก็แล้วแต่เรา

5.เก็บแบงก์เลขสวย


แบงก์มีเลขตอง ไม่ว่าจะเป็นแบงก์อะไรก็ตาม ได้ลุ้นทุกวันว่า จะเจอแบงก์เลขสวย หรือเปล่า

6.เก็บเงินตามเลขท้าย


เลขท้ายของจำนวนเงินที่ใช้ไป เช่น ใช้เงินซื้อของไป 599 บาท เราก็ต้องเก็บเงิน 99 บาท

7. เก็บเงินที่ได้จากส่วนลด

เวลาเราไปซื้อของ เช่น ซื้อของราคา 1,000 บาท จากปกติราคา 1,200 บาท ก็ให้แบ่งเก็บ เงิน 200 บาท เอาไว้

8.เก็บเงินที่ได้รับคืนมา


เงินที่เราได้รับคืนมา เช่น เงินคืนเบี้ยประกัน เงินคืนภาษี เงินปันผลกองทุน เงินคืนบัตรเครดิต ( CashBack )

ควรนำไปฝากบัญชีธนาคารอีกเล่ม หรือถ้าดวงดีหน่อย ก็อาจได้เงินถูกลอตเตอรี่

สลากออมทรัพย์ เงินเหล่านี้ลองแยกไว้อีกบัญชี จะเห็นว่าได้เยอะกว่าที่คิด

9.หักเศษเงินเดือน มาเก็บไว้

เช่น เดือนนี้ได้ 15,900 ก็หัก 900 มาออมก่อนเลย

10.ออมเงินตามวันที่

เริ่มจากวันที่ 1 ก็หยอดกระปุก 1 บาท วันที่ 30 ก็หยอด 30 บาท พอขึ้นเดือนใหม่

จะกลับไปเริ่ม 1 บาท ใหม่ ก็ได้ทำแบบนี้ ให้ครบ 365 จะได้เงิน 5 พันกว่าบาทเลย

11.ออมตามวัน


เหมือนกันกับออมตามวันที่ แต่เริ่มจากวันที่ 1 ก็ 1 บาท บวกไปเรื่อย ๆ จนถึงวันที่ 365 ก็หยอด 365 บาท

ช่วงเดือนแรก ๆ อาจจะสบาย แต่ไปหนักเอาช่วงสิ้นปี ที่ต้องออมเงินเยอะขึ้น

วิธีนี้น่าจะเหมาะกับคนที่มีเงินเหลือพอสมควร แต่ผลลัพธ์ที่ได้ เชื่อไหมว่า พอครบปี จะมีเงินเก็บถึง 66,795 บาท เลย

12.เก็บแบงก์ 500

หยอดกระปุก เหมาะสำหรับสายโหด แต่ได้เงินออมเยอะมาก

13.เก็บตามจำนวนรับประทานอาหารกลางวัน


เรารับประทานอาหารกลางวันไปกี่บาท ก็กลับมาหยอด กระปุกเท่าจำนวนที่จ่ายไปด้วย

ใครจะไปเชื่อว่า ถ้าหยอดทุกวัน ครบ 1 ปี จะมีเงินเก็บเป็นหมื่น

14.ตั้งเป้าออมเพิ่มสัปดาห์ละ 10 บาท

เช่นสัปดาห์แรกของปี หยอดกระปุกไป 10 บาท สัปดาห์ต่อไป ก็ต้องหยอดเพิ่มเป็น 20 บาท 30 บาท

ไปจนถึงสัปดาห์ ที่ 52 ตอนสิ้นปี ก็หยอดไป 520 บาท เราจะมีเงินเก็บ 13,780 บาท

หรือถ้าใครมีกำลังทำได้มากกว่านั้น จะออมเพิ่มสัปดาห์ละ 20 บาท 50 บาท 100 บาท

บวกไปเรื่อย ๆ ก็จะยิ่งเก็บเงินได้ เยอะขึ้นอีก

15.แบ่งเงินใช้ตามวัน

เช่น ตั้งเป้า จะใช้เงินไม่เกินวันละ 150 บาท ก็แยกเงินออกมาไว้เลย หรือแบ่งเงิน 150 บาท ออกเป็น 30 ถุง

สำหรับใช้ 1 เดือน แล้วใช้แค่เท่าที่มี อาจมีเงินสำรองติดตัวไว้หน่อยเผื่อเหตุฉุกเฉิน

ถ้าวันไหนเงินเหลือ ก็เอามาหยอดกระปุก เก็บออมเพิ่มได้อีก

16.ตั้งเป้าหมาย

ปีนี้จะต้องมีเงินเก็บเท่าไร แล้วเก็บให้ได้ทุกวัน เช่น สิ้นปีอยากเก็บเงินให้ได้ 100,000 บาท

ก็หารไป 365 วัน เท่ากับต้องเก็บเงิน ให้ได้วันละ 273-274 บาท นะหรือหาร 52 สัปดาห์

ตกสัปดาห์ละ 1,923 บาท หรือหาร 12 เดือน ตกเดือนละ 8,333 บาท ทีนี้ พอเงินเดือน

ออกก็แบ่งเงินจำนวนนี้ออกมาเก็บแยกไว้ อีกบัญชี ก่อนเลย ทำให้ได้ทุกเดือน

ก็จะมีเงินเก็บ ตามจำนวนที่ปรารถนา

17.เก็บตามที่ซื้อของฟุ่มเฟือย

เราซื้อไปเท่าไร ก็ต้องหยอดกระปุก เพิ่มไปให้ได้เท่านั้น อย่างบางคนอยากได้เสื้อผ้าใหม่ ๆ รองเท้าคู่ใหม่

แบบว่าอดใจไม่ไหวจริง ๆ ก็ซื้อได้ ไม่ว่ากันแต่ให้หยอดเงินเท่ากับจำนวนราคาที่ซื้อลงกระปุกไปด้วย เช่น

ซื้อรองเท้าคู่ละ 1,500 บาท ก็ต้องหยอดกระปุกเก็บเงินเพิ่มอีก 1,500 บาท ด้วยนะ

หรือถ้าดื่มกาแฟแก้วละร้อยทุกวัน ก็ให้หยอดเงินเท่าราคากาแฟเก็บไว้ด้วย

18.แยกกระปุกค่าใช้จ่าย

ใครรู้ล่วงหน้าว่า ต้องใช้เงินไปทำอะไร อย่างต้องจ่ายค่าเทอมลูก ผ่อนบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ

ไปเที่ยวที่ไหน ก็ให้แยกกระปุกเอาไว้เลย จะได้ไม่ไปยุ่งกับเงินออม

19.เงินเดือนเข้าปุ๊บ ให้รีบออมปั๊บ

โดยหักออกจากเงินเดือนสัก 10% หรือ มากกว่านั้นก็ได้ ไปฝากไว้อีกบัญชี

ที่ไม่มีบัตรเดบิตจะได้ ถอนเงินออกมาใช้ยากหน่อย

20.เก็บเงินในบัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง

มีอยู่หลายธนาคารเหมือนกันที่มีบัญชีออมทรัพย์พิเศษ แต่ก็มีเงื่อนไขที่ทำให้ ถอนได้ยากขึ้น

แลกกับดอกเบี้ยสูงกว่าออมทรัพย์ธรรมดา ซึ่งเหมาะกับคนที่ตั้งใจจะเก็บเงินจริง ๆ

21.เงินเดือนขึ้น ก็ต้องออมเพิ่ม

อย่างปกติ หักเงิน 10% จากเงินเดือน มาเก็บไว้ แต่ถ้าปีนี้ได้เงินเดือนเพิ่ม 5%

ก็ให้หักเงินไปออมเพิ่มอีก 3-5 % ทุกเดือน แล้วยอดเงินออมจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น


ที่มา...forlifeth.com
21 วิธีทำวนไปไม่ต้องคิด ทำทั้งปี มีเงินเก็บ สะดวกแบบไหนก็เลือกแบบนั้น 21 วิธีทำวนไปไม่ต้องคิด ทำทั้งปี มีเงินเก็บ สะดวกแบบไหนก็เลือกแบบนั้น Reviewed by Dusita Srikhamwong on ธันวาคม 11, 2563 Rating: 5


ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.