ขั้นตอนการกรวดน้ำที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้กุศลสูงสุด ให้บุญนั้นสำเร็จครบถ้วน




ขั้นตอนการกรวดน้ำที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้กุศ ลสูงสุด ให้บุญนั้นสำเร็จครบถ้วน

การกรวดน้ำ คือ การอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งพุทธศาสนิกชนนิยมปฏิบัติกันในเวลาทำบุญเนื่องในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น บวชนาค ทำบุญวันเกิด และงานศพ หรือหลังทำบุญตักบาตรที่เรียกว่า กรวดน้ำ คือการนำน้ำมาหลั่งรินให้ตกลงดินหรือภาชนะที่รองรับ โดยเริ่มต้น กรวดน้ำ ตอนที่พระขึ้นบทสวดมนต์ “ยถา วรีวหา” พอพระท่านว่าถึงบท “ปณฺณรโส ยถา มณีโชติร โส ยถา” ผู้กรวดน้ำต้องเทน้ำให้หมด แล้ววางภาชนะที่ใส่น้ำลงทันที ประณมมือฟังพระว่า “สพฺพีติโย”

และบทอนุโมทนาอื่นต่อไปจนจบคำบาลีสำหรับกรวดน้ำนั้นมีหลายอย่างหลายแบบ มากบ้างน้อยบ้าง ผู้ที่นึกคำบาลีไม่ออกจะกล่าวเป็นภาษาไทยก็ได้ เช่นว่า ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนบุญกุศลนี้แก่พ่อแม่ข้าพเจ้า ขอให้พ่อแม่ข้าพเจ้าจงประสบสุขควรแก่ฐานะเทอญ เป็นต้น แต่มีคำกรวดน้ำคำบาลีสั้น ๆ จำได้ง่าย คือ “อิทํ เม ญาตีนํ โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตโย” แปลว่า ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติของข้าพเจ้า และขอญาติของข้าพเจ้าจงมีความสุขเถิด

แล้วทำไมจึงต้องใช้น้ำเป็นสื่อในการอุทิศส่วนบุญกุศล ?เรื่องนี้มีผู้อธิบายว่า โดยธรรมเนียมทั่ว ๆ ไป ถือว่าเทวทูตทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ หรือ พระแม่ธรณี พระแม่คงคาพระวายุ พระอัคนี

เป็นสื่อกลางที่จะส่งคำอธิษฐาน ความปรารถนากุศลผลบุญ ให้แก่บรรพบุรุษหรือวิญญาณตลอดจนเทพเทวาการกรวดน้ำคือการแผ่ส่วนบุญผ่านพระแม่คงคา แล้วนำน้ำที่กรวดแล้วไปเทลงดินผ่านพระแม่ธรณี

การกรวดน้ำจะกระทำเมื่อเสร็จพิธีทำบุญ และพระภิกษุองค์ที่เป็นประธานในพิธีจะสวดนำการกรวดน้ำว่า “ยถา วาริวหา ปุราปริปูเรนฺติ…..” และว่าต่อไปอีกยืดยาว ผู้กรวดน้ำก็เริ่มค่อยๆ

เทรินน้ำลงภาชนะรองรับผ่านนิ้วมือของตน พร้อมกับตั้งจิตอุทิตส่วนกุศลไปด้วย และถือกันว่าการเทน้ำเมื่อกรวดนั้นต้องมิให้น้ำขาดสายจะรินๆหยุดๆ ไม่ได้ ต้องค่อยๆรินน้ำเรื่อยไปให้พอดีกับพระคาถา “ยถา” จบ

เมื่อพระองค์รองรับว่า “สัพพี…..” น้ำก็หมดพอดี หรือถ้ายังไม่หมดก็เทให้หมดตอนนั้น

ในงานบุญพิธีที่เจ้าภาพและแขกมีความสนิทสนมเป็นกันเอง บรรยากาศตอนกรวดน้ำจะดูสนุกสนานครึกครื้น โดยเมื่อใกล้เวลาที่จะต้องกรวดน้ำก็จะพากันมานั่งรวมกลุ่มเตรียมเครื่องกรวดน้ำกันไว้ ซึ่งบางทีก็เป็นแก้วน้ำดื่ม

และจานหรือถาดเล็กๆ ที่คว้าเอาแถวนั้น แล้วก็จะเรียกหากันให้มาร่วมกรวดน้ำ บางคนอยู่ในครัวก็ต้องรีบวางมือมา เด็กเล็กตัวเล็กตัวน้อยกำลังเล่นอยู่ พ่อแม่ก็จะเรียกมา กรวดน้ำ เพราะถือกันว่า เมื่อทำบุญแล้วก็ต้องอุทิศส่วนกุศลด้วย จึงจะครบถ้วนกระบวนความ

การกรวดน้ำ นิยมทำกันอย่างนี้ คือ เตรียมน้ำสะอาดใส่ภาชนะ จะเป็นคณฑี แก้วน้ำ ขวดน้ำ หรือขัน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ และหาภาชนะสำหรับรองน้ำกรวดไว้ให้พร้อม พอพระเริ่มอนุโมทนาขึ้นบทว่า “ยถา วาริวหา……….”

ก็เริ่มกรวดน้ำ (รินน้ำ) ลงในภาชนะรอง โดยตั้งใจนึกอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลตามแบบกรวดน้ำทั่วไป เมื่อพระว่าจบและขึ้นบทว่า สัพพีติโย….พร้อมกัน ผู้กรวดน้ำพึงหยุดกรวดน้ำแล้วประนมมือรับพร เสร็จแล้วจึงนำน้ำที่กรวดนั้นไปเทลงบนดินที่สะอาด หรือที่โคนต้นไม้ก็ได้

1.) การกรวดน้ำมี 2 วิธี คือ

-กรวดน้ำเปียก คือ ใช้น้ำเป็นสื่อ รินน้ำลงไปพร้อมกับอุทิศผลบุญกุศลไปด้วย

-กรวดน้ำแห้ง คือ ไม่ใช้น้ำ ใช้แต่สิบนิ้วพนมอธิษฐาน แล้วอุทิศผลบุญกุศลไปให้

2.) การอุทิศผลบุญมี 2 วิธี คือ

อุทิศเจาะจง ได้แก่ การออกชื่อผู้ที่เราจะให้ท่านรับ เช่น ชื่อพ่อ แม่ ลูก หรือใครก็ได้

อุทิศไม่เจาะจง ได้แก่ การกล่าวรวมๆกันไป เช่น ญาติทั้งหลาย เจ้าחรรมนายเ ว ร และสรรพสัตว์ทั้งหลาย เป็นต้น ทางที่ถูกควรทำทั้งสองวิธี คือผู้ที่มีคุณหรือมีเวรต่อกันมาก เราก็ควรอุทิศเจาะจง ที่เหลือก็อุทิศรวมๆ

3.) น้ำחรวด


ควรเป็นน้ำที่สะอาด ไม่มีสีและกลิ่น และเมื่อกรวดก็ควรรินลงในที่สะอาดและไปเทในที่สะอาด และที่สำคัญ อย่ารินลงกระโถนหรือที่สกปรก

4.) น้ำเป็นสื่อ – ดินเป็นพยาน

การกรวดน้ำมิใช่จะอุทิศไปให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วได้กินน้ำ แต่ใช้น้ำเป็นสื่อและใช้แผ่นดินเป็นพยาน ให้รับรู้ในการอุทิศส่วนบุญ

5.) ควรกรวดน้ำตอนไหนดี ?


ควรกรวดน้ำทันทีในขณะที่พระอนุโมทนาหรือหลังทำบุญเสร็จ แต่ถ้าไม่สะดวกจะทำตอนหลังก็ได้ แต่ทำในขณะนั้นดีกว่า ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ

– ถ้ามีเปรตญาติมารอรับส่วนบุญ ท่านก็ย่อมได้รับในทันที

– การรอไปกรวดที่บ้านหรือกรวดภายหลัง บางครั้งก็อาจลืมไป ผู้ที่เขาตั้งใจรับก็อด ผู้ที่เราตั้งใจจะให้ก็ชวดไปด้วย

6.) ควรรินน้ำตอนไหน ?


ควรเริ่มรินน้ำพร้อมกับตั้งใจอุทิศ ในขณะที่พระผู้นำเริ่มสวดว่า “ยะถาวาริวะหาปูรา…” และรินให้หมดเมื่อพระว่ามาถึง “…มะณิโชติระโส ยะถา…”พอพระทั้งหมดรับพร้อมกันว่า “สัพพีติโย วิวัชชันตุ…” เราก็พนมมือรับพรท่านไปจนจบ จึงจะถือว่าถูกต้อง

7.) ถ้ายังว่าบทกรวดน้ำไม่เสร็จ จะทำอย่างไร ?

ก็ควรใช้บทกรวดน้ำที่สั้นๆหรือใช้บทกรวดน้ำย่อก็ได้ เช่น “อิทัง โน ญาตีนังไหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ขออุทิศส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ …. (ออกชื่อผู้ล่วงลับ) …. และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขเถิด”

หรือจะใช้แต่ภาษาไทยอย่างเดียวก็ได้ว่า 「ขออุทิศส่วนบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญแล้วนี้ จงสำเร็จแก่ พ่อ แม่ ญาติ ครูอาจารย์ ผู้มีพระคุณเจ้าחรรมนายเ ว ร และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ขอจงได้รับส่วนบุญกุศลครั้งนี้โดยเร็วพลัน และโดยทั่วถึงกันเทอญ」 ส่วนบทยาวๆ เราควรเอาไว้กรวดส่วนตัว หรือกรวดในขณะทำวัตรสวดมนต์รวมกันก็ได้

8.) อย่าทำน้ำสกปรกด้วยการเอานิ้วไปรอไว้

ควรรินให้ไหลเป็นสายไม่ขาดระยะ และไม่ควรใช้วิธี เกาะตัวกันเป็นกลุ่มหรือเป็นทางเหมือนเล่นงูกินหาง ถ้าเป็นในงานพิธีต่างๆ ให้เจ้าภาพหรือประธาน รินน้ำกรวดเพียงคนเดียวหรือคู่เดียวก็พอ คนนอกนั้นก็พนมมือตั้งใจอุทิศไปให้

9.) การทำบุญและอุทิศส่วนบุญ

ควรสำรวมจิตใจ อย่าให้จิตฟุ้งซ่าน ปลูกศรัทธา ความเชื่อ และความเลื่อมใสให้มั่นคงในจิตใจ ผลของบุญและการอุทิศส่วนบุญย่อมมีอานิสงค์มาก ผลบุญที่เราอุทิศไปให้ ถ้าไม่มีใครมารับก็ยังคงเป็นของเราอยู่ครบถ้วน ไม่มีผู้ใดจะมาโกงหรือแย่งชิงไปได้เลย

10.) บุญเป็นของกายสิทธิ์

ยิ่งให้ยิ่งมาก ยิ่งตระหนี่ยิ่งน้อย ยิ่งอุทิศให้คนอื่นหมดเลยเราก็ยิ่งจะได้บุญหมดเลย


ข้อมูลและภาพ www.kaazip.com
ขั้นตอนการกรวดน้ำที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้กุศลสูงสุด ให้บุญนั้นสำเร็จครบถ้วน ขั้นตอนการกรวดน้ำที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้กุศลสูงสุด ให้บุญนั้นสำเร็จครบถ้วน Reviewed by Dusita Srikhamwong on สิงหาคม 26, 2565 Rating: 5


ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.