ถั่วเหลือง อาหารล้ำค่าจากยุคโบราณ กินเป็นประจำช่วยบำรุงประสาทและสมอง ผิวพรรณสดใส




ถั่วเหลือง อาหารล้ำค่าจากยุคโบราณ กินเป็นประจำช่วยบำรุงประสาทและสมอง ผิวพรรณสดใส 

ถั่วเหลือง (Soybean, Soya bean) เป็นพืชสำคัญและเก่าแก่ชนิดหนึ่งของโลก ตามประวัติศาสตร์แล้วถั่วเหลืองนั้นมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนทางตอนกลางหรือทางเหนือ ซึ่งชาวจีนได้รู้จักการใช้ประโยชน์จากถั่วเหลือง และมีการปลูกถั่วเหลืองมายาวนานมากกว่า 4,700 ปีแล้ว

โดยถั่วเหลืองของไทยส่วนมากปลูกแถบภาคเหนือ และภาคกลางตอนบน นิยมเรียกกันในภาษาไทยโดยทั่วๆไปหลายชื่อเช่น ถั่วพระเหลือง ถั่วแระ ถั่วแม่ตาย ถั่วเหลือง (ภาคกลาง) มะถั่วเน่า (ภาคเหนือ) เป็นต้น

ต้นถั่วเหลือง ลำต้นตั้งตรง ลักษณะเป็นพุ่ม แตกแขนงค่อนข้างมาก มีความสูงประมาณ 30-150 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ มีช่อดอกเป็นแบบกระจะ ดอกมีสีขาวหรือสีม่วง โดยสีขาวเป็นลักษณะด้อย โดยดอกจะเกิดตามมุมของก้านใบหรือตามยอดของลำต้น ฝักถั่วเหลือง ออกฝักเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 2-10 ฝัก ที่ฝักมีขนสีเทาหรือสีน้ำตาลปกคลุมอยู่ทั่วฝัก ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และเมื่อฝักแตกออกจะทำให้เมล็ดร่วงออกมา

ถั่วเหลือง เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและหลากหลาย เพราะอุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโน มีไขมันชนิดดีสูง มีเส้นใยอาหารสูง มีวิตามินและเกลือแร่สูง และยังเป็นอาหารที่หาได้ง่าย ราคาไม่แพง การเก็บรักษาก็ง่าย และผู้ผลิตยังเติมสารอาหารที่มีประโยชน์อื่น ๆ ลงไปอีกด้วย โดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลืองสำเร็จรูป

ประโยชน์ของถั่วเหลือง

การบริโภคนมถั่วเหลือง เป็นประจำยังมีประโยชน์ต่อรูปลักษณ์ภายนอกอีกด้วย เช่น ช่วยทำให้ผิวพรรณสดใส เปล่งปลั่ง ดูมีน้ำมีนวล ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน ช่วยบำรุงประสาทและสมอง ช่วยเพิ่มความจำ เนื่องจากถั่วเหลืองอุดมไปด้วยวิตามินบีหลายชนิด

นอกจากนี้ โปรตีนในถั่วเหลือง ถือเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพดี มีโปรตีนสูงเทียบเท่ากับนมวัว (แต่มีแคลเซียมน้อยกว่า เพียง 1 ใน 5 ของนมวัวเท่านั้น) สามารถใช้ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ เพราะมีกรดอะมิโนจำเป็นอยู่หลายชนิดในปริมาณที่สมดุลมากกว่าถั่วชนิดอื่น



สรรพคุณของถั่วเหลือง

ใช้เป็นยาบำรุงโลหิต ด้วยการใช้เปลือกเมล็ดแห้งประมาณ 10-15 กรัมมาต้มกับน้ำดื่ม (เปลือกเมล็ด)

กากถั่วเหลืองช่วยป้องกันการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด (กากเมล็ด)

ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง และมีบางการศึกษาระบุว่า การบริโภคถั่วเหลืองเป็นประจำ อาจช่วยลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชาย และมะเร็งเต้านมในเพศหญิงวัยที่ยังมีประจำเดือน แต่อาจเพิ่มโอกาสของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมในเพศหญิงวัยที่หมดประจำเดือนแล้วได้ ซึ่งเป็นผลมาจากสารไฟโตเอสโตรเจน

แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาที่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจน และยังไม่สามารถระบุได้ว่า ถั่วเหลืองสามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ ช่วยป้องกันโรคมะเร็งของเนื้อเยื่อระบบสืบพันธุ์ (สารไฟโตเอสโตรเจน) ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งช่องคลอด มะเร็งต่อมลูกหมาก (Isoflavones) และจากงานศึกษาในประเทศญี่ปุ่นและจีนพบว่า

ผู้ที่กินซุปเต้าเจี้ยวมากจะมีอัตราเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่ำกว่า

ผู้ที่ชอบรับประทานซุปที่ทำจากถั่วเหลือง จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเพียง 1 ใน 3 ของผู้ที่ไม่ได้รับประทาน

ผู้ที่รับประทานเต้าหู้มากจะมีอัตราเสี่ยงต่อโรคมะเร็งกระเพาะอาหารต่ำ

ผู้ที่กินถั่วเหลืองมากกว่า 5 กิโลกรัมต่อปี จะมีอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารลดลง 40%

ผู้ชายที่กินเต้าหู้มากกว่า 5 ครั้งต่อสัปดาห์ จะมีอัตราเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นครึ่งหนึ่งของผู้ชายที่กินเต้าหู้น้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์

ผู้ที่รับประทานอาหารที่ประกอบด้วยถั่วเหลืองน้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม 2 เท่า และมะเร็งปอดเป็น 3.5 เท่าของผู้ที่กินอาหารที่ประกอบด้วยถั่วเหลืองทุกวัน[12] สำหรับมะเร็งปอด สารไอโซฟลาโวนจะช่วยถ่วงการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งไว้ (แต่ต้องไม่ใช้ถั่วเหลืองที่ผ่านการหมัก และจะได้ประโยชน์เฉพาะกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่)



การบริโภคอาหารที่มีโปรตีนจากถั่วเหลืองจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งได้ถึง 30% (ข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติ)

จากการศึกษาทดลองพบว่า Isoflavones สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของก้อนมะเร็งในสัตว์ทดลองได้

ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

กรดไขมันไม่อิ่มตัวในถั่วเหลืองสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ และจากการศึกษาพบว่า ถั่วเหลืองมีฤทธิ์ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ถึง 15-20% โดยผลจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาเลียนที่ได้ทำการทดลองในคนไข้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลมากกว่า 300 เนื่องมาจากพันธุกรรม[10] และจากการศึกษาพบว่า ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีโปรตีนจากถั่วเหลือง 25 กรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับไขมันเลว (LDL) ลดลงร้อยละ 18 และมีระดับไขมันดี (HDL) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20

ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ และสมาคมแพทย์โรคหัวใจในสหรัฐฯ ให้คำแนะนำว่า ให้รับประทานโปรตีนจากถั่วเหลืองวันละ 25 กรัม จะช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้ และช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด (สารไฟโตเอสโตรเจน)

เส้นใยอาหารจากถั่วเหลือง สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้ (แอนดริว พี โกลด์เบิร์ก) และผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยโตรอนโต ดร.เดวิด เจนคินส์ ยังกล่าวว่า ถั่วเหลืองเป็นพืชที่ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีที่สุด

ช่วยป้องกันการขาดแคลเซียม ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของกระดูก ช่วยลดความรุนแรงของโรคกระดูกผุ ช่วยลดการสลายของกระดูก และป้องกันโรคกระดูกพรุน

ช่วยบำบัดและรักษาผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต เนื่องจากถั่วเหลืองมีสารไอโซฟลาโวน ที่ช่วยทำให้เลือดลมเดินสะดวก ซึ่งเป็นผลการศึกษาของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮ่องกงที่ทำการศึกษากับคนไข้ 102 รายที่เป็นอัมพาตเพราะเส้นเลือดเลี้ยงสมองอุดตันมาก่อนและเป็นโรคหัวใจในเวลาต่อมา

ช่วยขับร้อน สลายน้ำ ถอนพิษ

ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง เนื่องจากถั่วเหลืองมีธาตุเหล็กสูง แต่ในขณะเดียวกันก็มีสารต้านการดูดซึมธาตุเหล็กด้วย ดังนั้นการจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้จะต้องรับประทานร่วมกับอาหารชนิดอื่น ๆ เช่น เนื้อสัตว์หรือวิตามินซีจากผลไม้ เป็นต้น

ดอกสดใช้เป็นยารักษาต้อกระจก (ดอก)

ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (เปลือกเมล็ด)



การบริโภคถั่วเหลืองเป็นประจำจะช่วยบำรุงปอดให้แข็งแรงขึ้น และช่วยลดโอกาสของการเป็นโรคถุงลมโป่งพอง

ช่วยแก้ตานขโมย (เมล็ด)

แก้ผอมแห้งหรือซูบผอม

ช่วยบรรเทาอาการเหงื่อออก ด้วยการใช้เปลือกเมล็ดแห้งประมาณ 10-15 กรัมมาต้มกับน้ำดื่ม (เปลือกเมล็ด)

ช่วยบำบัดอาการลำไส้ทำงานไม่ปกติ

ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ช่วยในการเผาผลาญอาหารในกระเพาะอาหารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (ไขมันไม่อิ่มตัว)

ช่วยแก้โรคบิด อาการแน่นท้อง

เมล็ดใช้เป็นยาระบาย (เมล็ด)

ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูก และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคริดสีดวงทวาร

ช่วยหล่อลื่นลำไส้ (เมล็ด)

ช่วยขับปัสสาวะ ด้วยการใช้เมล็ดแห้งประมาณ 30-90 กรัมนำมาต้มกิน หรือจะใช้เปลือกเมล็ดแห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่มก็ได้ (เมล็ด, เปลือกเมล็ด)

ช่วยปรับสภาพของฮอร์โมนในสตรีให้สมดุล ช่วยลดความรู้สึกไม่สบายตัว อาการร้อนวูบวาบในระยะหมดประจำเดือนของสตรี รวมไปถึงอาการหงุดหงิด เหงื่อแตก ช่องคลอดแห้ง อารมณ์แปรปรวน หรือมีอาการทางผิวหนังและเยื่อบุบริเวณช่องคลอดแห้งหรืออักเสบ (Isoflavones) และช่วยลดอาการผิดปกติของหญิงวัยหมดประจำเดือนได้




ตามตำราแพทย์ของจีนระบุว่า ถั่วเหลืองมีฤทธิ์บำรุงม้ามและลมปราณในร่างกาย โดยใช้เมล็ดแห้งประมาณ 30-90 กรัม นำมาต้มกินเป็นยาบำรุงม้าม

สำหรับผู้ที่เป็นโรคไตที่ต้องจำกัดการรับประทานโปรตีนและคอเลสเตอรอล แต่โปรตีนจากถั่วเหลืองเป็นอาหารที่ผู้ป่วยโรคไตสามารถรับประทานทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ โดยพบว่าการทำงานของไตดีขึ้น และยังช่วยลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรคนิ่วในไตได้อีกด้วย

ช่วยรักษาแผลเปื่อย แผลเน่าเปื่อย (เปลือกเมล็ด)

ช่วยรักษาบาดแผลภายนอกที่มีเลือดออก (เมล็ด)

ใบสดใช้ต้มกับน้ำดื่มรักษาเลือดออก (ใบ)

ใบสดใช้เป็นยารักษาภายนอก ด้วยการนำมาตำแล้วพอกรักษาคนที่ถูกงูกัด โดยพอกวันละ 3 ครั้ง (ใบ)

แก้สตรีมีครรภ์โดนพิษเฉียบพลัน (เมล็ด)

ช่วยแก้ปวด โดยถั่วเหลืองอุดมไปด้วยสารไอโซฟลาโวนที่มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการอักเสบตามไขข้อ ซึ่งการรับประทานถั่วเหลืองวันละ 40 กรัมก็จะช่วยแก้และป้องกันอาการปวดได้




อ้างอิงข้อมูลบางส่วน medthai.com และ https://th.wikipedia.org/
ถั่วเหลือง อาหารล้ำค่าจากยุคโบราณ กินเป็นประจำช่วยบำรุงประสาทและสมอง ผิวพรรณสดใส ถั่วเหลือง อาหารล้ำค่าจากยุคโบราณ กินเป็นประจำช่วยบำรุงประสาทและสมอง ผิวพรรณสดใส Reviewed by Dusita Srikhamwong on กรกฎาคม 28, 2562 Rating: 5


ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.