ยอดมะรุมอ่อนๆ ลวกกินกับน้ำพริกหรือทำต้มจืดให้โปรตีนสูง และช่วยขับของเสียในลำไส้ได้ดี




ยอดมะรุมอ่อนๆ ลวกกินกับน้ำพริกหรือทำต้มจืดให้โปรตีนสูง และช่วยขับของเสียในลำไส้ได้ดี

มะรุม ผักสมุนไพรพื้นบ้าน มีชื่อสามัญ Moringa ชื่อ วิทยาศาสตร์ Moringa oleifera Lam. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Guilandina moringa L., Hyperanthera moringa (L.) Vahl, Moringa zeylanica Burmann) จัดอยู่ในวงศ์ MORINGACEAE มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า บะค้อนก้อม (ภาคเหนือ), ผักอีฮุม บักฮุ้ม (ภาคอีสาน) เป็นต้น

มะรุม เป็นผักที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุรวมหลายชนิด  มีต้นกำเนิดในแถบทวีปเอเชีย อย่างประเทศอินเดียและศรีลังกา โดยเป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ปลูกง่ายในเขตร้อน ทนแล้ง สามารถรับประทานได้ทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นฝัก ใบ ดอก เมล็ด ราก เป็นต้น

ใบมะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า มีธาตุอาหารสูง นั่นคือ  วิตามินเอ ที่ช่วยบำรุงสายตามีมากกว่าแครอต 3 เท่า วิตามินซี ที่ช่วยป้องกันหวัด 7 เท่าของส้ม แคลเซียม ที่ช่วยบำรุงกระดูกเกิน 3 เท่าของนมสด และมีโพแทสเซียม ที่ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาท 3 เท่าของกล้วย

สำหรับยอดอ่อน ใบอ่อน และช่อดอกอ่อนของมะรุมนั้น นิยมนำไปลวกให้สุกหรือต้มให้สุก รับประทานเป็นผักทานคู่กับน้ำพริก นอกจากนี้แล้วยอดมะรุมยังถือเป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับของเสียในลำไส้ได้ดี



วิธีทำต้มจืดยอดมะรุม 

 1. เด็ดยอดมะรุมอ่อนๆ รูดใบ เด็ดก้านอ่อน

2.ต้มน้ำซุปใส่ปลาหมึกแห้งหรือกุ้งแห้งสักนิดเพื่อดึงความหอมของน้ำซุป ต้มจนเดือด

3. พอเดือดให้ทำหมูบะช่อให้ลอย

4. ใส่ยอดและก้านมะรุมลงไป

5. เหยาะพริกไทย กระเทียมเจียวโรยหน้า

6. หากชอบรสหอมก็เติมผักชีลงไป

7. เพียงเท่านี้เป็นอันเสร็จ  เสิร์ฟพร้อมข้าวสวยร้อนๆ

สรรพคุณทางยาของมะรุม

ใบ ใช้ถอนพิษไข้ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ แก้แผล ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต

ยอดอ่อน ใช้ถอนพิษไข้

ดอก ใช้แก้ไข้หัวลม เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันมะเร็ง

ฝัก แก้ไข้ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต

เมล็ด เมล็ดปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้บวม แก้ปวดตามข้อ ป้องกันมะเร็ง

ราก รสเผ็ด หวาน ขม สรรพคุณ แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหัวใจ รักษาโรคไขข้อ (rheumatism)

เปลือกลำต้น รสร้อน สรรพคุณขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อน ๆ แก้ลมอัมพาต ป้องกันมะเร็ง คุมกำเนิด เคี้ยวกินช่วยย่อยอาหาร

ยาง (gum) ฆ่าเชื้อไทฟอยด์ ซิฟิลิส (syphilis) แก้ปวดฟัน earache, asthma



ข้อควรระวังในการกินมะรุม

1.ยอดมะรุมถ้ารับประทานติดต่อกันเวลานาน ควรตรวจการทำงานของตับอย่างต่อเนื่อง เพราะพบว่าผู้ที่รับประทานยอดมะรุมเป็นเวลานานค่าเอนไซม์ในตับจะมีค่าสูงขึ้น

2.สตรีมีครรภ์ ควรหลีกเลี่ยง การรับประทานมะรุมในทุกส่วน เพราะในมะรุมมีสารที่อาจทำให้เกิดภาวะแท้งได้
ยอดมะรุมอ่อนๆ ลวกกินกับน้ำพริกหรือทำต้มจืดให้โปรตีนสูง และช่วยขับของเสียในลำไส้ได้ดี ยอดมะรุมอ่อนๆ ลวกกินกับน้ำพริกหรือทำต้มจืดให้โปรตีนสูง และช่วยขับของเสียในลำไส้ได้ดี Reviewed by Dusita Srikhamwong on กรกฎาคม 03, 2562 Rating: 5


ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.