ประโยชน์ของส้มมุด มะมุด ผลสุกจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน กลิ่นหอมแรง ให้วิตามินซีสูง




ประโยชน์ของส้มมุด มะมุด ผลสุกจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน กลิ่นหอมแรง ให้วิตามินซีสูง

ส้มมุด ลูกมุด หรือ มะมุด (Horse mango) เป็นผลไม้ที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว หายาก มีผลคล้ายมะม่วง แต่มียางที่สามารถทำให้ผิวหนังเป็นรอยไหม้ได้ ลักษณะใบของต้นส้มมุดคล้ายๆ กับใบมะม่วงแต่จะหนากว่าผิวมัน ดอกเป็นดอกช่อ สีชมพูอมแดง กลิ่นหอมเย็น

มะมุด เป็นผลไม้พื้นเมืองของภาคใต้ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า สิงคโปร์ และเวียดนาม เป็นผลไม้กินสด เนื้อผลรับประทานได้ มีกลิ่นขี้ไต้ ผลอ่อนสีเขียวเข้ม ผลสุกสีเหลืองแกมเขียว เมื่ออ่อน เนื้อสีขาวเช่นเดียวกับมะม่วง แต่เปรี้ยวกว่า เนื้อแน่น เหนียวกว่า สุกแล้วเนื้อสีเหลือง กลิ่นแรงมาก ทำให้เป็นผลไม้ที่ถูกห้ามนำขึ้นรถโดยสารหรือห้องประชุม



ส้มมุด มีชื่อวิทยาศาสตร์ Mangifera foetida Lour.) ชื่ออื่น : มะละมุดไทย มะม่วงป่า (ใต้) มะแจ มาจัง มาแจฮูแต (มลายู-นราธิวาส) ระยะเวลาการเป็นดอก-ผล ออกดอกประมาณเดือนมกราคม-มีนาคม ผลแก่ระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม พบขึ้นตามชายฝั่งแม่น้ำ ในป่าพรุและในป่าดิบชื้น นิยมปลูกทั่วไปในสวนแซมๆ ปนๆ ไป กับไม้ผลตัวหลักอื่นๆ

สำหรับการรับประทานส้มมุดนั้นนิยมนำมาปรุงรสเปรี้ยวในอาหาร เช่น น้ำพริก นำมากินเป็นผักแกล้ม นำมายำกับปลาใส่มะพร้าวคั่ว หรือใส่ในแกงส้ม แกงเหลือง ส่วนผลดิบใช้เป็นผักหรือดองโดยเฉพาะในกาลีมันตันตะวันออกนิยมนำไปใช้แทนมะขาม



ขณะที่ในมาเลเซียใช้ทำน้ำพริกและนำไปดอง ชาวโอรังอัสลีในคาบสมุทรมลายูใช้น้ำยางในการสักผิวหนัง เพื่อให้รอยสักติดลึก ใบใช้เป็นยาลดไข้ เมล็ดใช้แก้โรคติดเชื้อราบางชนิด ผลดิบมียางซึ่งทำให้ระคายเคืองในปากและริมฝีปาก ผลสุกมียางเฉพาะที่เปลือก




ส้มมุด ลูกมุด มะมุด เป็นไม้ผลที่คุณค่าทางอาหารมาก มีรสเปรี้ยว ให้วิตามินซีสูงมากๆ นิยมใช้มะมุดหั่นเป็นชิ้นยาวจิ้มน้ำพริก หรือรับประทานเป็นผักกินกับขนมจีนก็ได้ ในทางยาสมุนไพร ใช้เนื้อในเมล็ดฝนกับน้ำปูนใสทาบาดแผลได้ หรือใบอ่อนหรือยอดอ่อน นำมาขยี้กับปูนแดงเอาน้ำหรือเมือก ทาแผลเปื่อยผุพองได้ ส่วนเม็ดมีรสฝาด มีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องร่วง สมานลำไส้ สมานแผล
ประโยชน์ของส้มมุด มะมุด ผลสุกจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน กลิ่นหอมแรง ให้วิตามินซีสูง ประโยชน์ของส้มมุด มะมุด ผลสุกจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน กลิ่นหอมแรง ให้วิตามินซีสูง Reviewed by Dusita Srikhamwong on สิงหาคม 23, 2562 Rating: 5


ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.