7 ข้อแนะนำในการรับมือเรื่องเงิน ในยุคเศรษฐกิจไม่เดิน ทำแล้วจะดีขึ้น




7 ข้อแนะนำในการรับมือเรื่องเงิน ในยุคเศรษฐกิจไม่เดิน ทำแล้วจะดีขึ้น

1. รู้จักประมาณตนในการใช้จ่าย

ก่อนที่จะควักเงินออกจากกระเป๋าแต่ละที ควรคิดให้ดีดีก่อนครับว่า สิ่งที่เรากำลังจะแลกมานั้นมันมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด ถ้าสิ่งที่เกี่ยวกับเรื่องปากท้อง อย่ าง ข้าวสาร อาหารแห้ง ผัก ผลไม้ น้ำดื่ม ฯลฯ

ของแบบนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีพ หลายครอบครัวอาจไว้จะมีซื้อมาตุนไว้ก็ถือว่าเป็นไอเดียที่ดี(แต่ระวังของหมดอายุด้วยนะครับ)

ส่วนสิ่งของที่เป็นพวกเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย กระเป๋า รองเท้า สินค้าไอทีต่างๆ พวกนี้อาจจะต้องคิดสักหน่อยก่อนซื้อ เพราะบางอย่ างก็อาจจะไม่จำเป็น

2. นำของเก่ามาทำเป็นของใหม่

ต่อเนื่องจากข้อแรกครับ ที่บอกว่า ให้ซื้อแต่สิ่งที่จำเป็น สำรวจดูในบ้านบ้างครับว่าสิ่งของชิ้นไหนที่ยังพอใช้ได้ แต่สภาพเก่าไปบ้างก็ไม่เป็นไร นำมาซ่อมแซมหรือดัดแปลงให้มันใช้งานได้หลากหลายขึ้นจะช่วยให้เราประหยัดไม่ต้องเปลืองตังค์ซื้อ แถมยังได้ของใหม่ที่ทำขึ้นเองด้วยครับ

3. หันมาผลิตเพื่อบริโภคภายในครัวเรือน

หากที่บ้านไหนมีพื้นที่ว่างๆ สนามหญ้าหลังบ้านหรือหน้าบ้านเล็กๆ อาจจะลองนำเอาเมล็ดพันธุ์ผักปลอดสารพิ ษต่างๆไปปลูกดู ดั่งคำพูดที่ว่า กินทุกอย่ างที่ปลูกและปลูกทุกอย่ างที่กินจะช่วยให้เราประหยัดไม่ต้องซื้อผักจากตลาด แถมยังจะได้ผักที่สดสะอาดมั่นใจได้ว่าปลอดภัย

เพราะเราปลูกด้วยตนเอง แต่ถ้าใครที่อยู่บ้านเช่าตึกแถว คอนโด อาพาต์เม้น ต่างๆอาจจะไม่ค่อยมีพื้นที่สักเท่าไหร่ แนะนำให้ลองหาอะไรมาดัดแปลงเป็นกระบะหรือกระถาง ใส่ดิน ปลูกผักห้อยวางตามระเบียง เพียงเท่านี้ก็จะได้ผักสวนครัวแบบกระถางห้อยกินได้แล้วครับ

4. หารายได้เสริม

จากวันว่างหรือวันหยุดสุดสัปดาห์ ช่วยๆกันในครอบครัวครับ พ่อ แม่ ลูก ลองคิดว่า จะช่วยกันทำอย่ างไร เพื่อให้มีรายรับเพิ่มเข้ามา อาจจะช่วยกันทำขนมหรือทำอาหาร ,นำผักที่ปลูกไปขายที่ตลาด หรือคุณแม่บ้านอาจจะมีอาชีพเสริม

เช่น การเย็บปักถักร้อย,ทำตุ๊กตา,ทำงานฝีมือ แล้วให้ลูกๆช่วยเรื่องการถ่ายภาพจัดตกแต่งลงโพสต์ขายใน โซเชียลต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีอาชีพเสริมอีกมายมายที่ให้เลือกตามความถนัดและตามความสามารถของแต่ละคน อย่ าง รับสอนพิเศษ รับเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ นักแปลภาษา เป็นไกด์ทัวร์นำเที่ยวช่วงเทศกาลและวันหยุด ฯลฯ เป็นต้น

5. ติดตามส่วนลด โปรโมชั่นดีดี

ถ้าจะซื้ออะไรสักอย่ างแล้วเลือกซื้อที่มีรายการส่วนลดด้วยนั้น จะช่วยเซฟเงินในกระเป๋าของเราได้บ้าง หรือถ้าใครที่ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเป็นประจำ ก็จะมีโปรโมชั่นเสริมต่างๆมากมาย เช่นสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของรางวัลและส่วนลดฟรีค่าที่พัก ค่าเดินทางค่าเครื่องบิน ตามแต่ละประเภทของบัตรและสินค้าที่ร่วมรายการ

6. ทำบัญชีรายรับรายจ่ายประจำวัน

หลายคนอาจจะคิดว่า การทำบัญชีนั้นไม่ได้ช่วยอะไรเราเลย ที่จริงแล้วมีผลนะครับ บัญชีทำให้เรารู้ว่า เรามีรายรับอะไรเท่าไหร่บ้าง มีรายจ่ายหมดไปกับสินค้าบริการประเภทไหนบ้างและเรามีภาระที่ต้องชำระค่าอะไรบ้าง

สิ่งเหล่านี้เป็นเหมือนเครื่องเตือนสติไม่ให้เราใช้จ่ายเงินจนเกินตัว โดยไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจ เมื่อเราเห็นภาพรวมของการเงินของเราแล้ว

ก็จะทำให้เรามีการวางแผนทางการเงินที่ดีขึ้นได้ โดยเฉพาะใครที่อย ากมีเงินออมตอนสิ้นเดือนทุกๆเดือนแล้วล่ะก็ อย่ าลืมจดบันทึกและแบ่งเงินเก็บออมไว้เพื่ออนาคตกันบ้างนะครับ

7. สร้างนิสัยรักการเก็บออม

สำหรับผมแล้วเป็นคนที่ชอบออมเงิน และมีวิธีการในการออมดังนี้ครับ ถ้ามีรายได้เข้ามา ผมจะแบ่งเก็บออมไว้เลย 10-20 % จากนั้น เวลาที่เราได้รับเงินโบนัสหรือส่วนลดเมื่อซื้อสินค้ารายได้เสริมและรายได้พิเศษต่างๆ

ผมก็จะเก็บไว้เป็นเงินออมและเป็นเงินทุนสำรองไว้ใช้จ่ายในย ามฉุกเฉินครับ แรกๆมันก็อาจจะย ากนิดหน่อยตรงที่เราต้องมีสติควบคุมจิตใจของตนเองและมีวินัยในการใช้เงินมากขึ้น

แต่พอทำไปสักพักเราก็จะเริ่มติดเป็นนิสัย จนทุกวันนี้ผมก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องย ากอีกต่อไปแล้ว หากว่าท่านผู้อ่ า นและใครที่สนใจอาจจะลองนำไปปรับใช้ดูก็ได้นะครับ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในช่วงที่ของแพง เศรษฐกิจ ไม่ดี การประหยัดมากจนเกินไปก็อาจจะส่งผลเสียกับสุขภาพกายและจิตได้

ดังนั้นเราจึงควรดำรงตนบนพื้นฐานแห่งความพอดี เดินทางสายกลาง ไม่โลภมาก ไม่ฟุ่มเฟือยหรือขี้เหนียวจนเกินไป ช่วยเหลือคนรอบข้างที่ตกทุกข์ได้ย ากบ้าง และรู้จักการใช้ชีวิตบนความไม่ประมาทในทุกๆเรื่อง ไม่ว่า เศรษฐกิจ จะเป็นแบบไหน หากว่าเราได้สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตนเองแล้ว ย่อมผ่านพ้นวิกฤตที่เ ล วร้ า ยนี้ไปได้


ขอบคุณที่มา : moneyhub.in.th
7 ข้อแนะนำในการรับมือเรื่องเงิน ในยุคเศรษฐกิจไม่เดิน ทำแล้วจะดีขึ้น 7 ข้อแนะนำในการรับมือเรื่องเงิน ในยุคเศรษฐกิจไม่เดิน ทำแล้วจะดีขึ้น Reviewed by Dusita Srikhamwong on สิงหาคม 05, 2563 Rating: 5


ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.