ผักขี้หูด “วาซาบิเมืองไทย” ยอดอ่อน ฝักอ่อน ลวกกินกับน้ำพริกช่วยละลายนิ่ว แก้อาหารไม่ย่อย




ผักขี้หูด “วาซาบิเมืองไทย” ยอดอ่อน ฝักอ่อน ลวกกินกับน้ำพริกช่วยละลายนิ่ว แก้อาหารไม่ย่อย

ผักขี้หูด ไชโป้วหางหนู (Rat-tailed Radish) ถูกพบมากที่สุดในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเชื่อว่ามีต้นกำเนิดในประเทศจีน ส่วนในไทยพบมากในภาคเหนือที่นิยมเก็บฝักอ่อนหรือยอดอ่อนมาประกอบอาหาร

ผักขี้หูด ไชโป้วหางหนู ผักเปิ๊ก ผักกาดแซ (ผักกาดที่มีกลิ่นฉุนแรง) มีชื่อวิทยาศาสตร์ : Raphanus sativus Linn. อยู่ในวงศ์ : CRUCIFERAE เป็นพืชล้มลุกปีเดียว ต้นขึ้นเป็นกอเหมือนกับผักกาดเขียว  มีลักษณะขอดเป็นปุ่ม ๆ ยาวตลอดทั้งฝัก ชาวบ้านจึงนำลักษณะของผักชนิดนี้มาตั้งชื่อว่า “ผักขี้หูด” และด้วยความที่ว่ามีกลิ่นฉุน ผักขี้หูดจึงได้รับฉายานามว่าเป็น “วาซาบิเมืองไทย”



ผักขี้หูด ชอบขึ้นในที่มีอากาศหนาวเย็นหรือที่มีความชุ่มชื้น หาพบในภาคอื่นได้น้อยมาก ส่วนทางภาคอีสานก็พบได้เฉพาะบนภูสูงเท่านั้น ดังนั้นผักชนิดนี้จึงเป็นที่รู้จักและใช้กันอย่างกว้างขวางทางภาคเหนือ

ประโยชน์ของผักขี้หูด

1. ใบดิบ และผลดิบเมื่อรับประทานจะมีรสเผ็ด และมีกลิ่นฉุนคล้ายวาซาบิ แต่เมื่อทำสุกจะออกรสหวานมัน จึงนิยมนำมารับประทานดิบหรือลวกคู่กับน้ำพริก

2. ใบอ่อน ยอดอ่อน และฝักอ่อน นิยมเก็บมาทำอาหารจำพวกแกง และผัดต่างๆ อาทิ แกงเลียง แกงส้ม ผัดฝักผักขี้หูด เป็นต้น

3.ใบอ่อน ยอดอ่อน และดอกอ่อน นำมาทำผักดอง ด้วยการนำมาคั้นหรือขยำกับเกลือ และน้ำซาวข้าว ก่อนใส่กระปุกดองไว้รับประทาน

4. ฝักดิบแก่หรือฝักแห้งนำมาต้มน้ำสำหรับฉีดพ่นในแปลงผัก ช่วยไล่แมลง ป้องกันแมลงหรือหนอนกัดกินพืชผัก




สรรพคุณของผักขี้หูด

ฝักและใบช่วยทำให้เจริญอาหาร (ใบ, ฝัก)

เนื่องจากผักขี้หูดมีกลิ่นฉุน จึงนิยมนำไปใช้เป็นยาสมุนไพรแก้หวัด (ฝัก)

ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย (ใบ, ฝัก)

ช่วยละลายนิ่ว (ใบ, ฝัก)

ดอกเป็นยาช่วยขับน้ำดี (ดอก)

ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับผักกาดหัวหรือหัวไชเท้า



ผักขี้หูด “วาซาบิเมืองไทย” ยอดอ่อน ฝักอ่อน ลวกกินกับน้ำพริกช่วยละลายนิ่ว แก้อาหารไม่ย่อย ผักขี้หูด “วาซาบิเมืองไทย” ยอดอ่อน ฝักอ่อน ลวกกินกับน้ำพริกช่วยละลายนิ่ว แก้อาหารไม่ย่อย Reviewed by Dusita Srikhamwong on สิงหาคม 05, 2562 Rating: 5


ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.